เลือกภาษา
close
ความแตกต่างหลากหลาย
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

ไม่ว่าลูกนั้นจะเกิดมาเป็นอะไร เขาก็คือมนุษย์หนึ่งคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย

 

บทสนทนาดี ๆ ของภูเขาและบุญรอดจากช่อง Poocao Channel

ถึงความสำคัญของแรงสนับสนุนจากครอบครัวในฐานะลูก LGBTQIA+

 

“คือเราสองคนต่างถูกกดทับจากสังคมข้างนอกมา ทั้งการเป็น LGBTQIA+ และคนพิการด้วย แต่ว่าที่บ้านของเราก็ค่อนข้างจะสนับสนุนและโอบอุ้ม ยอมรับในตัวตนของเราโดยที่ไม่บังคับว่า ต้องเป็นผู้ชาย หรือต้อง come out อะไร ไม่เคย”

นี่คือคำบอกเล่าของ ‘ภูเขา - พิชฌ์พสุภัทร วงศ์อำไพ’ และ ‘บุญรอด - บุญรอด อารีย์วงษ์’ สองเพื่อนรักอารมณ์ดีจากช่อง Poocao Channel ที่ได้มาแบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตที่ผ่านมาของทั้งสองคน ในฐานะที่เป็น LGBTQIA+ และผู้พิการในสังคมไทย ถึงความสำคัญของแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง ความเข้าใจของสังคมต่อกลุ่มเพศหลากหลาย และเรียกร้องถึงสิทธิความเท่าเทียมในประเทศไทย

“ก็มีความลำบากในชีวิตพอสมควร ในแง่ร่างกาย มีเรื่องแบบปัญหาในการหาโรงเรียนยากมาก ด้วยความพิการของบุญรอด ทำให้ไม่มีใครรับเข้าเรียน ก็ลำบากพอสมควรในการเข้าเรียน ก็หาประมาณ 3 - 4 โรงเรียนได้ เพราะเขาให้เหตุผลว่าเป็นภาระในการดูแลเด็ก ซึ่งงงมาก”

บุญรอดเล่าว่าบุญรอดได้ค่อย ๆ เรียนรู้อัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองในช่วงมัธยม เนื่องจากได้เจอเพื่อนที่เป็น LGBTQIA+ เหมือนกัน มีเพื่อนคอยสนับสนุนบุญรอดในการเรียนหนังสือ มีครอบครัวคอยช่วยเหลือ ในวันที่แม่ของบุญรอดรู้ว่าเขาไม่ได้มีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นชายหญิงตามค่านิยมของสังคม แม่บุญรอดก็ยังสนับสนุนลูกของเธออยู่

“ยอมรับตัวเองนะ รู้สึกว่าเรากล้าที่จะมีความเป็นหญิง (Feminine) ในตัวเอง กล้าที่จะแต่งหน้าทาแป้งตอนเด็ก ๆ ซึ่งก็ทำให้พ่อแม่เห็นโดยที่ใส่นาฬิกาสีชมพูไปโรงเรียน ซึ่งชั้นเองก็ไม่ได้แคร์ ไม่รู้สึกว่ามันต้องเป็นการปิดบัง พ่อแม่ชั้นเองก็ไม่เคยถามจนถึงทุกวันนี้”

ในด้านของภูเขา เขาได้เล่าว่าตัวเองนั้นรู้สึกแปลกแยกจากคนอื่นตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนเรียบร้อย มีเพศกำหนดเป็นผู้ชาย แต่การแสดงออกทางเพศของเขามีความเป็นหญิงอยู่ ซึ่งก็แสดงออกให้ครอบครัวเห็นมาตลอด และพวกเขาก็ไม่ได้กีดกัน อีกทั้งยังสนับสนุนให้ภูเขาได้เป็นตัวเองมาจนถึงทุกวันนี้

“จะเห็นข่าวเยอะมาก พ่อแม่เอาลูกไปทิ้งเพราะลูกพิการ ฟังแล้วก็เศร้า คิดว่าแบบคนเราเกิดมามันเลือกเกิดไม่ได้ว่าอยากจะเป็นอะไร อย่างพี่เกิดมา พ่อแม่ก็ไม่อยากให้พิการหรอก แล้วเมื่อมันพิการแล้วอะ สิ่งที่พ่อแม่ควรจะมีคือการให้กำลังใจลูก ฟูมฟักลูกให้อยู่ในสังคมได้ เหมือนกับว่า ทำยังไงก็ได้ให้ลูกของเขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และช่วยเหลือตัวเองได้” - บุญรอด

“สำหรับเรา Mindset ของพ่อแม่ คือ ให้กำเนิดลูกมาด้วยความรัก ด้วยความพร้อม และมอบความรักให้เขา สนับสนุนให้เขาได้ใช้ชีวิต และเติบโตด้วยตัวตนที่เขาอยากเป็น ให้เขาได้เรียนรู้ในทุกโมเมนต์ ทุกช่วงเวลาในชีวิตของเขาด้วยตัวเอง โดยที่มีพ่อแม่เป็นคนประคับประคอง นี่คือสิ่งที่เราว่ามันควรจะเป็น” - ภูเขา

ภูเขาและบุญรอดได้เล่าถึง “กรอบ” ที่พ่อแม่ได้สร้างไว้ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นคนพิการหรือ LGBTQIA+ ที่มองว่าไม่ควรไปตั้งเงื่อนไขใด ๆ ให้กับลูก เพราะสุดท้าย ไม่ว่าลูกนั้นจะเกิดมาเป็นอะไร เขาก็คือมนุษย์หนึ่งคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย แรงสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เขาเป็นตัวเขาในเวอร์ชั่นที่มั่นใจที่สุด 

แม้ว่าการสนับสนุนจากครอบครัวและคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญต่อการเป็นคนพิการหรือ LGBTQIA+ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิทธิทางกฎหมายนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะสร้างการยอมรับความเท่าเทียมหลากหลายในสังคมได้

“การที่ไม่มีสมรสเท่าเทียม มันเป็นสัญลักษณ์ เป็นสิ่งเตือนอย่างหนึ่งว่า LGBTQIA+ มันยังไม่เท่ากับคนอื่นนะเว้ย มันเป็นตราบาปก็ว่าได้ เพราะฉะนั้น พอสิ่งนี้ยังไม่เกิดขึ้น คนบางส่วน ก็ยังมีความคิดยึดในความไม่เท่ากันของคน พอรัฐไม่ได้ปฏิบัติว่าเราเท่ากับเขาจริง ๆ มันก็ยังทำให้ค่านิยมของการเลือกปฏิบัติมันก็ยังมีอยู่ด้วย” - ภูเขา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สมรสเท่าเทียมก็เป็นอีกหนึ่งกฎหมายที่รองรับว่าชีวิตของ LGBTQIA+ ในฐานะคู่สมรสนั้นจะมีหลักประกันร่วมกันในการใช้ชีวิต การดูแลทรัพย์สิน หรือการรักษาพยาบาล สำหรับในตอนนี้ที่ยังไม่มีสมรสเท่าเทียมเกิดขึ้น ประกันสุขภาพ ‘พรูโรคร้าย ซูเปอร์คุ้ม’ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะคุ้มครอง 63 โรคร้ายแรง อย่างเช่น การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจ โรคไวรัสตับอักเสบ พาร์กินสัน ภาวะโคม่า การสูญเสียการได้ยินหรือความสามารถในการพูด แผลไหม้ฉกรรจ์ ฯลฯ

โดยครอบคลุมทุกช่วงวัยตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 65 ปี และยังต่ออายุได้ถึงอายุ 98 ปี คุ้มครองต่อจนถึงอายุ 99 ปี  อีกทั้งยังคุ้มครองสูงสุดถึง 150% ของทุนประกันภัยฯ เลยทีเดียว อีกทั้งเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์หลักสามารถนำมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี  (ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)

“ชั้นว่ามันสำคัญมากที่จะมีประกัน อย่างน้อยถ้าไม่มีกฎหมายมาครอบคลุม ประกันก็ดีอยู่ เป็นเหมือนอีกหนึ่งช่องทางการเลือกที่ LGBTQIA+ หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ได้นึกถึงข้อนี้ แต่ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเหมือนกัน” - บุญรอดได้กล่าวปิดท้าย ก่อนที่บทสนทนานี้จะจบลง

 

#MadeForEveryFamily #ดูแลความสุขให้ทุกความต่าง

 

หมายเหตุ : ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

พรูเด็นเชียล พร้อมสนับสนุน
และดูแลความสุขให้ทุกครอบครัว