เลือกภาษา
close
RSV in kids
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

ทำไม RSV ถึงเป็นโรคที่พ่อแม่กลัวว่าจะเกิดกับลูกมากที่สุดขณะนี้?

 

Respiratory Syncytial Virus (RSV) เชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดกันมากในหมู่เด็กๆ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่ต่างพากันวิตกเกี่ยวกับสุขภาพของลูกเป็นอย่างมาก เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปทำลายระบบหายใจส่วนบนและส่วนล่างของเด็กๆ ได้ง่าย เพียงแค่การสัมผัสเท่านั้น

เจ้าไวรัสตัวนี้สามารถจู่โจมทุกคนอย่างไม่เลือกหน้า โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งมีภูมิคุ้มกันไม่มากเท่าคนในวัยอื่น จึงทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อสูง และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอเสนอวิธีดูแลลูกน้อยของคุณ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการการติดเชื้อไวรัส RSV นี้ มาให้คุณอ่านอย่างเข้าใจง่ายที่สุด

 

ทำความรู้จัก RSV วายร้ายในช่วงปลายฝนต้นหนาว

สำหรับผู้ปกครองที่กำลังกังวลว่าลูกของตัวเองจะติดเชื้อ RSV หรือไม่นั้น ให้ลองสังเกตในระยะเริ่มต้นที่จะใช้เวลาฝักตัวราว 3 - 6 วัน นับจากวันที่เชื้อได้เข้าสู่ร่างกาย โดยอาการแรกเริ่มที่สังเกตเห็นได้ มีดังต่อไปนี้

  • น้ำมูกไหล คัดจมูก และหายใจมีเสียงหวีด

  • ไอ จาม

  • เบื่ออาหาร

 

หากลูกของคุณแสดงอาการป่วยเพียงเล็กน้อยก็นับว่ายังไม่น่ากังวลเท่าไรนัก เพราะคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้วิธีที่ง่ายและเร็วที่สุด ด้วยการรักษาเองที่บ้าน เพียงเท่านี้ลูกน้อยของคุณก็จะหายป่วยได้ภายใน 2 สัปดาห์

 

หากมีอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์

  • หายใจติดขัดและหอบเหนื่อย เนื่องจากหลอดลมเริ่มตีบหรือหลอดลมฝอยอักเสบ

  • ป่วยนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

 

 

5 วิธีป้องกันการติดเชื้อ RSV

แม้ว่าตอนนี้ลูกของคุณจะมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ก็ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ทางที่ดีคุณควรดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในอนาคตให้ได้มากที่สุด โดยเริ่มจากการสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ลูกน้อย ด้วยการจัดสรรเวลานอนหลับต่อวันให้ครบ 7-8 ชั่วโมง ซึ่งสามารถเริ่มทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน จะได้ผลลัพท์ที่ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของเด็กๆ อีกด้วย

 

คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิให้ลูกๆ ติดเชื้อ RSV

1. หมั่นล้างมือให้บ่อยขึ้น

2. ควรสวมหน้ากากอนามัยให้ลูกเมื่อพวกเขามีอาการไอหรือจาม

3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ที่มีคนแออัดและมีกลิ่นควันไฟหรือควันพิษต่างๆ

4. ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวของลูกให้ปลอดเชื้ออยู่เสมอ

5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับลูกทางผิวหนังโดยตรง เช่น การจูบ การหอมแก้ม

 

ใครคือกลุ่มเสี่ยง?

1. ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงทำให้มีอาการรุนแรงมากกว่าทารกที่คลอดตามกำหนด โดยเฉพาะทารกที่มีโรคปอดและโรคหัวใจเป็นโรคประจำตัว ก็จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อนี้ได้สูง

2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีพอ แถมยังมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่ จึงทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกต อาการลูกน้อยอย่างใกล้ชิด

3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคปอดและโรคหัวใจ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว

 

3 วิธีดูแลลูกๆ เมื่อมีอาการป่วย ด้วยตัวคุณเอง

อันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องทำใจให้สบาย เพราะในกรณีที่ลูกของคุณมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย ก็สามารถรักษาตามอาการที่บ้านจนหายเองได้ โดยอาการเหล่านั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ เพียงคุณทำตาม 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. พ่นยาขยายหลอดลมให้แก่ลูก เมื่อพวกเขาหายใจไม่สะดวก

2. ให้ลูกทานยาลดไข้และยาแก้ไอละลายเสมหะตามอาการที่ปรากฎ

3. พยายามให้เด็กๆ ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ เพราะจะช่วยขับเสมหะออกจากลำคอได้รวดเร็ว

 

หากเคยรักษาหายแล้ว จะกลับมาเป็น RSV ได้อีกหรือไม่?

การที่ลูกของคุณเคยติดเชื้อแต่รักษาจนหายสนิทแล้ว ไม่สามารถการันตีได้ว่า เด็กๆ จะไม่กลับมาเป็นติดเชื้อ RSV อีกครั้ง เพราะร่างกายของคนเราไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อต้านทานการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ขึ้นได้เอง ดังนั้น คุณควรหมั่นดูแลร่างกายของลูกๆ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยปกป้องลูกของคุณให้ห่างไกลจากไวรัสตัวนี้