เลือกภาษา
close
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อโรคต่างๆ
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อโรคต่างๆ อย่าง มาลาเรีย ไข้เลือดออก และชิคุนกุนยาได้อย่างไร

 

เขียนโดย The Health Aisle Team
รับรองทางการแพทย์โดย Dr. Jamal Moloo, MD, MPH

 

 

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสามารถส่งผลกระทบในวงกว้างต่อระบบนิเวศ ยุง รวมถึงแมลงที่เป็นพาหะของโรคต่างๆ แล้วนำมาติดมนุษย์

โรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา เป็นตัวอย่างของโรคที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งมีโอกาสแพร่ได้มากขึ้นในปีถัดๆไป

ตัวอย่างเช่น ในทุกๆปีมีคนกว่า 100 ล้านคนที่เป็นโรคไข้เลือดออก และทำให้เกิดการเสียชีวิตถึงประมาณ 10,000 รายทั่วโลก และตัวเลขเหล่านี้ก็ยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นไปอีก ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอัตราของโรคไข้เลือดออกที่เพิ่มขึ้นเกือบ 50% จากผู้ป่วย 451,000 รายในปี 2015 กลายเป็น 658,000 รายในปี 2019 และภายในปี 2080 ก็มีโอกาสที่คนกว่า 2.25 ล้านคนทั่วโลกจะมีความเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก

 

ยุงกัดคนที่มีเชื้อไข้เลือดออก > ยุงดูดเลือดที่มีไวรัสไข้เลือดออก > ยุงที่ได้รับเชื้อบินไปกัดคนอื่นต่อ > คนที่โดนยุงกัดติดเชื้อใหม่

 

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเกี่ยวอะไรกับยุง?

ยุงเป็นสัตว์ที่ชอบอากาศร้อน และเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้ยุงอาศัยอยู่นอกพื้นที่ที่มันเคยอยู่ ยุงลายเสือเอเชีย (Aedes albopictus) ซึ่งสามารถเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยานั้นได้ถูกพบในประเทศตะวันออกหลายประเทศที่ไม่เคยมีพวกมันมาก่อน

อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้ยุงโตเต็มวัยได้เร็วขึ้น ยุงที่โตเต็มวัยสามารถกัด กักเก็บเชื้อโรค และเป็นพาหะของโรคได้ อุณหภูมิที่อุ่นขึ้นยังทำให้ยุงติดเชื้อโรคที่มันไปดูดมาได้เร็วขึ้นอีกด้วย

แต่ยุงบางชนิดไม่สามารถอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนเกินไปได้จึงทำให้บางทวีปไม่มีโรคเหล่านี้แพร่อยู่

เราควรจะรู้อะไรบ้าง?

มีโรคมากมายที่ปรากฎในพื้นที่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และในพื้นที่ที่มีโรคเหล่านี้อยู่แล้วก็อาจพบจำนวนยุงที่เป็นพาหะมากกว่าที่เคย และนำเชื้อไปติดมนุษย์ได้มากขึ้น โรคแพร่ระบาดที่รุนแรงสามารถกระจายตัวได้มากขึ้นในพื้นที่ที่มีโรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยาเป็นโรคท้องถิ่นอยู่แล้ว

หากคุณต้องเดินทางไปท่องเที่ยว คุณควรจะต้องระวังโรคท้องถิ่นในพื้นที่นั้นๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งถ้าหากคุณไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรคำนึงเกี่ยวกับการป้องกันและการรักษาไว้ด้วย

 

 

คุณทำอะไรได้บ้าง

คุณสามารถป้องกันตัวเองจากยุงและแมลงอื่นๆ เช่น เห็บและแมลงวัน ได้โดยการ

  • ใช้มุ้งกันยุง

  • ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายได้อย่างมิดชิด โดยเฉพาะช่วงเช้ามืดและตอนกลางคืน

  • พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพคลินิกสาธารณสุขเกี่ยวกับยากันยุงที่เหมาะกับพื้นที่ของคุณ เนื่องจากแมลงในบางพื้นที่มีความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงที่แตกต่างกัน

  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนเพื่อป้องกันตัวคุณเอง มีงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นมากมายเกี่ยวกับวัคซีนรักษาโรคเหล่านี้

นอกจากนี้ พวกเราต้องคำนึงถึงการกระทำที่อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เช่น การใช้พลังงาน การเดินทาง และการท่องเที่ยว คุณเองก็สามารถช่วยได้โดยการตระหนักถึงการกระทำของคุณที่สามารถส่งผลต่อสภาพแวดล้อมไปในอนาคตอีกหลายๆ ปีข้างหน้า!

 

References:

  1. Derouin, S. (2017, May 3). What a warming planet means for mosquito-borne diseases. Stanford Earth Matters. https://earth.stanford.edu/news/what-warming-planet-means-mosquito-borne-diseases#gs.v4hdrc

  2. Messina, J. P., Brady, O. J., Golding, N.et al. (2019). The current and future global distribution and population at risk of dengue. Nature Microbiology, 4, 1508–1515. https://doi.org/10.1038/s41564-019-0476-8

  3. World Health Organization. (n.d.). Dengue in the South-East Asia [sic]. https://www.who.int/southeastasia/health-topics/dengue-and-severe-dengue

  4. Rocklöv, J., & Dubrow, R. (2020). Climate change: an enduring challenge for vector-borne disease prevention and control. Nature Immunology, 21, 479–483. https://doi.org/10.1038/s41590-020-0648-y

  5. World Health Organization. (2020, March 2). Vector-borne diseases.   https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/vector-borne-diseases

  6. Mordecai, E. A., Ryan, S. J., Caldwell, J. M., Shah, M. M., & LaBeaud, A. D. (2020). Climate change could shift disease burden from malaria to arboviruses in Africa. The Lancet. Planetary health, 4(9), e416–e423. https://doi.org/10.1016/S2542-5196(20)30178-9

  7. World Health Organization. (2020, September 15). Chikungunya. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chikungunya

เริ่มต้นมีสุขภาพที่ดีได้แล้ววันนี้ด้วยแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential

ดาวน์โหลดเลย

 QR-code

 appstore  googleplay

Pulse by Prudential รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 11.0 ขึ้นไป | Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปเท่านั้น