เคล็ดลับการรับมือกับสุขภาพจิตที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ
เขียนโดย The Health Aisle Team
รับรองทางการแพทย์โดย Nadia Pirbhai, BSc, MC, Registered Psychologist
อาจเป็นเรื่องยากที่จะต้องจินตนาการถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงต่อตัวเรา สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากวิกฤตในระยะยาวต่างๆ ในอนาคต เรามีเวลาถึงปีค.ศ. 2030 เพื่อป้องกันภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนี้ แต่ตอนนี้ความพยายามของพวกเรายังไม่มากพอที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก [1]
จากการสำรวจผู้คนทั่วโลก 10,000 คนที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี พบว่า เมื่อถามถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ คนจำนวน 51% คิดว่าตัวเองช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ 62% รู้สึกกังวล และ 67% รู้สึกเศร้า [2]
ในฟิลิปปินส์ ผู้คนจำนวน 84% รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และคนส่วนใหญ่คิดว่ามันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเขา [2]
ผลกระทบทันทีหลังเกิดภัยธรรมชาติ [3][4]
ทุกๆ เหตุการณ์ธรรมชาติที่ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง เช่น น้ำท่วม พายุเฮอริเคน ไฟป่า หรือคลื่นความร้อน จะสามารถกระตุ้นความรู้สึกวิตกกังวล ปมในใจ Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) การนอนหลับไม่สนิท และเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ประมาณ 25-50% ของผู้คนที่ต้องเผชิญภัยพิบัติ มีความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่ไม่ดี ผลกระทบเหล่านี้สามารถอยู่ได้นานหลายเดือนถึงหลายปี
ผู้ใหญ่จำนวนมากถึง 54% และเด็ก 45% เคยเป็นโรคซึมเศร้าหลังต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่รุนแรง [5]
ผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อน [4][6]
ความเครียดจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ไม่อยากคิดถึงเรื่องอื่นๆ อีก—ไม่ใช่เพราะผู้คนไม่สนใจ แต่เพราะพวกเขารับมือกับมันไม่ได้ต่างหาก ความเครียด ความวิตกกังวล และความรู้สึกสิ้นหวัง ถ้ารู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนและชุมชนรอบตัวเรา และอาจทำให้สภาพสุขภาพจิตแย่ลงและรุนแรงขึ้นได้ แต่โชคดีที่มีวิธีที่จะช่วยคุณจัดการและรับมือกับสิ่งเหล่านี้อยู่
“ความวิตกกังวลต่อสิ่งแวดล้อม” คือความกลัวเรื้อรังต่อหายนะทางสิ่งแวดล้อม
ไม่มีโลกใบอื่น / เรารักษ์โลก / หยุดภาวะโลกร้อน
คุณทำอะไรได้บ้าง
สร้างจิตสำนึก
สร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิตที่ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางภูมิอากาศอาจทำให้เกิดขึ้นได้ พูดถึงเรื่องความเครียดและความวิตกกังวลอย่างเปิดเผย อย่ากลัวที่จะแบ่งปันความรู้สึกของคุณกับเพื่อนและครอบครัว
ช่วยดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
หมั่นดูแลผู้ที่มีภาวะสุขภาพจิตอยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อาศัยและทำงานใกล้ชิดกับธรรมชาติ เช่น เกษตรกรและชุมชนพื้นเมือง พูดคุยและให้กำลังใจเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะดีขึ้น
มีส่วนร่วมกับชุมชนของคุณ
การมีส่วนร่วมในชุมชนที่ตื่นตัวเกี่ยวกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศอยู่แล้วจะทำให้คุณมีแรงบันดาลใจ และอยากเริ่มทำอะไรสักอย่างได้มากขึ้น การเริ่มสร้างชุมชนจากรอบๆ ตัวคุณจะทำให้คุณรู้สึกปลอดภัยและได้รับการสนับสนุนอยู่ตลอด
เข้ารับการรักษาด้านจิตเวช
ถ้าคุณเกิดอาการเครียดหรือวิตกกังวลที่รับมือได้ด้วยตนเองยาก คุณควรจะไปรับคำแนะนำจากผู้เเชี่ยวชาญทางด้านจิตเวช แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญที่คุณไว้ใจ
ได้โปรดรู้เอาไว้ว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว มีวิธีจัดการและรักษาหากคุณพึ่งมีความรู้สึกกังวล เครียด หรือวิตกกังวล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ จงรู้ตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก
References:
-
Climate change and health.World Health Organization. (2021, October 30). https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/climate-change-and-health
-
Climate anxiety in children and young people and their beliefs about government responses to climate change: a global survey.Hickman, C., Marks, E., Pihkala, P., et al. (2021). The Lancet. Planetary health, 5(12), e863–e873. https://doi.org/10.1016/S2542-5196(21)00278-3
-
The Psychological Effects of Climate Change on Children.Burke, S., Sanson, A. V., & Van Hoorn, J. (2018). Current psychiatry reports, 20(5), 35. https://doi.org/10.1007/s11920-018-0896-9
-
Global climate change and mental health. Current opinion in psychology, 32, 12–16.Palinkas, L. A., & Wong, M. (2020). https://doi.org/10.1016/j.copsyc.2019.06.023
-
A meta-analysis of risk factors for depression in adults and children after natural disasters. BMC public health, 14, 623.Tang, B., Liu, X., Liu, Y., Xue, C., & Zhang, L. (2014). https://doi.org/10.1186/1471-2458-14-623
-
Mental Health and Our Changing Climate: Impacts, Implications, and Guidance.Clayton, S., Manning, C. M., Krygsman, K., & Speiser, M. (2017). Washington, D.C.: American Psychological Association, and ecoAmerica. https://www.apa.org/news/press/releases/2017/03/mental-health-climate.pdf