อาการหอบหืด และอาการแพนิก แตกต่างกันอย่างไร?
หลายคนอาจแยกความแตกต่างระหว่างอาการหอบหืดและอาการแพนิกแทบไม่ได้เลย นั่นเพราะทั้ง 2 อาการนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะอาการหายใจติดขัดและแน่นหน้าอก นอกเหนือจากอาการข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายข้อบ่งชี้ของอาการเหล่านี้ที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
ดังนั้น การเริ่มต้นทำความเข้าใจอาการหอบหืดและอาการแพนิกตั้งแต่ตอนนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคุณและคนรอบข้างได้ในช่วงเวลาฉุกเฉิน
|
อาการหอบหืด |
อาการแพนิก |
ระยะเริ่มต้น |
อาการหอบหืดเฉียบพลันมีอาการหอบหืดนานหลายนาทีและอาจแสดงอาการได้นานหลายวัน (ขึ้นอยู่กับการตอบสนองในการรักษา) |
อาการแพนิกเฉียบพลันมีอาการรุนแรงได้ภายใน 10 นาที และอาจอันตรายถึงชีวิต |
อาการ |
แน่นหน้าอกหายใจติดขัดเวลาหายใจจะมีเสียงวี้ดไอ |
แน่นหรือเจ็บหน้าอกหายใจติดขัดอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จนใบหน้าร้อนและแดง ในบางรายอาจมีเหงื่อออกตัวสั่นหัวใจเต้นแรงผิดปกติปวดท้อง/ คลื่นไส้รู้สึกหน้ามืดไร้ความรู้สึกด้านอารมณ์และร่างกาย/ เหน็บชาตามนิ้วมือและเท้าอาจรู้สึกเหมือนตนเองกำลังจะตายหรือกลัวว่าจะตาย |
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ |
สิ่งแวดล้อม/ ภูมิแพ้ (เช่น กลิ่นควัน อากาศที่เป็นมลพิษ ฝุ่นละออง หรือเชื้อรา)หักโหมออกกำลังกายความเครียด |
ความเครียดหรือความวิตกกังวล |
ทำอย่างไรให้อาการหอบหืดดีขึ้น?
อาการหอบสามารถดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยาบรรเทาอาการหอบที่มีประสิทธิภาพสูง โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยสามารถใช้ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้นได้ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง และหากมีอาการหอบกะทันหันก็สามารถใช้ยาพ่นหอบฉุกเฉินระงับได้ทันที แต่ก็ไม่ควรใช้ยานี้บ่อยเกิน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในกรณีที่ต้องใช้ยาพ่นฉุกเฉินบ่อยๆ และหายใจมีเสียงวี้ดร่วมด้วยนั้น นั่นหมายถึงสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกชัดเจนว่าคุณควรไปพบแพทย์เฉพาะทางได้แล้ว
ทำอย่างไรให้อาการแพนิกดีขึ้น?
วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การฝึกควบคุมการหายใจลึกๆ ให้เต็มปอด ในขณะเดียวกันการรักษาด้วยยาก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการแพนิกได้ด้วยตนเองจนทำให้มีผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยารักษาอาการแพนิกอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกับผู้ป่วยบางราย ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอจึงเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อตัวคุณและคนรอบข้าง
สำหรับผู้ที่ไม่อยากพึ่งการรักษาด้วยการใช้ยา คุณก็สามารถป้องกันอาการแพนิกได้ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย นอนหลับให้เพียงพอ ใช้เวลาว่างด้วยการฝึกสมาธิและทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หรืออาจลองปรึกษานักจิตวิทยารวมถึงการพูดคุยกับคนที่คุณเชื่อใจ ก็เป็นอีกวิธีที่ทำได้ด้วยตัวเองและช่วยคลายกังวลได้ในระยะยาวอีกด้วย
เมื่อความเครียดและความวิตกกังวลถูกกระตุ้นก็อาจทำให้โรคหอบหืดกำเริบตามมาได้ในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้หมอวิเคราะห์อาการและออกแบบวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับคนไข้แต่ละคนได้ยิ่งขึ้น
References:
1. NHLBI. (2020, December 3). Asthma. National, Heart, Lung, and Blood Institute. https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/asthma
2. NIHM. (2021, April 5). Panic Disorder: When Fear Overwhelms. National Institute of Mental Health. https://www.nimh.nih.gov/health/publications/panic-disorder-when-fear-overwhelms/index.shtml
3. American Lung Association. (2020, March 16). Manage Stress to Keep Asthma in Control. https://www.lung.org/lung-health-diseases/lung-disease-lookup/asthma/living-with-asthma/managing-asthma/manage-stress
4. Boudreau, M., Lavoie, K. L., Cartier, A., Trutshnigg, B., Morizio, A., Lemière, C., & Bacon, S. L. (2015). Do asthma patients with panic disorder really have worse asthma? A comparison of physiological and psychological responses to a methacholine challenge. Respiratory medicine, 109(10), 1250–1256. https://doi.org/10.1016/j.rmed.2015.09.002