เลือกภาษา
close
ทานแอปเปิ้ลวันละ 1 ลูก ช่วยให้ปอดแข็งแรง?
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

ทานแอปเปิ้ลวันละ 1 ลูก ช่วยให้ปอดแข็งแรงขึ้นได้จริงเหรอ?

 

การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจะช่วยให้ปอดแข็งแรงพร้อมสร้างประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรงของโรคหอบหืด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease) และโรคมะเร็งได้อีกด้วย

 

เลือกทานอาหารตามโภชนาการที่เหมาะสม – เพียงทานผลไม้ ผัก และธัญพืชต่างๆ เป็นประจำ พร้อมหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ทั้งหมดนี้คือกุญแจสำคัญของการกินเพื่อสุขภาพ มาดูกันว่ามีอาหารอะไรบ้างที่สามารถช่วยให้ปอดของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

1. แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่สามารถช่วยยับยั้งสารอนุมูลอิสระในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น

ผลการศึกษาจาก 2-3 งานวิจัยพบว่า การทานแอปเปิ้ล 5 ลูกหรือมากกว่านั้น ภายในหนึ่งสัปดาห์จะช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้นและสามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการปอดอักเสบรุนแรงได้อีกด้วย (การศึกษานี้ทำกับกลุ่มตัวอย่างในชายวัยกลางคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง) นอกจากนี้ ประโยชน์ของแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดและโรคหอบหืด

 

2. บีทรูท

บีทรูทอุดมไปด้วยส่วนประกอบของสารไนเตรดที่ช่วยซ่อมแซมการทำงานของปอดและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายให้ดีขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ คุณค่าสารอาหารของบีทรูทยังช่วยสร้างความแข็งแรงให้เซลล์ในปอด ที่จะช่วยปกป้องคุณให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งได้อีกระดับหนึ่ง

จากการศึกษาพบว่า การดื่มน้ำบีทรูทก่อนออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถลดความดันเลือดของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบได้อีกเช่นกัน

 

3. พริก

พืชตระกูลพริกอุดมไปด้วยวิตามินซีจำนวนมากที่จะช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งวิตามินชนิดนี้จะเข้ามาซ่อมแซมการทำงานของปอด โดยเฉพาะเหล่าสิงห์อมควันให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นที่รู้กันว่าการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบเรื้อรัง ซึ่งหากคุณป่วยเป็นโรคนี้จะทำให้คุณหายใจลำบากกว่าคนทั่วไป แต่อาการป่วยเหล่านี้จะทุเลาลง ด้วยการหมั่นทานวิตามินซีที่หาได้จากผักและผลไม้ทั่วไปนั่นเอง

 

4. กะหล่ำปลีม่วง

ในกะหล่ำปลีม่วงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระชนิด แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่จะเข้ามาช่วยให้การทำงานของปอดดียิ่งขึ้น ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้นอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง ซึ่งพบว่าแอนโทไซยานินที่อยู่ในผักและผลไม้จะช่วยยืดอายุการทำงานของปอดให้ยืนยาวขึ้น

 

5. บลูเบอร์รี่

บลูเบอร์รี่อุดมไปด้วยแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งจากงานวิจัยของกิจการทหารผ่านศึก (Veterans Affairs) ที่ทำการศึกษาในกลุ่มชายในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนกว่า 800 คน พบว่า การทานบลูเบอร์รี่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยลดความเสื่อมสภาพในการทำงานของปอดได้

นอกจากนี้ ผลวิจัยยังบอกอีกว่า บลูเบอร์รี่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ ของร่างกายให้น้อยลงและยังช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น

 

คุณอาจรู้อยู่แล้วว่า ทั้งไลฟ์สไตล์และโภชนาการอาหารล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณโดยเฉพาะระบบการทำงานของปอด ดังนั้น การทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างผลไม้และผักต่างๆ ในแต่ละมื้อเป็นประจำจะช่วยให้โภชนาการอาหารของคุณดีขึ้น ไม่เชื่อก็ลองเริ่มต้นจากเมนูสมูทตี้และสลัดดูสิ!

หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทานอาหารเพื่อสุขภาพ กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการ

 

Health Aisle logo

References:

1. Jihad Alwarith, Hana Kahleova, Lee Crosby, Alexa Brooks, Lizoralia Brandon, Susan M Levin, Neal D Barnard, The role of nutrition in asthma prevention and treatment, Nutrition Reviews, Volume 78, Issue 11, November 2020, Pages 928–938, https://doi.org/10.1093/nutrit/nuaa005
2. Hyson D. A. (2011). A comprehensive review of apples and apple components and their relationship to human health. Advances in nutrition (Bethesda, Md.), 2(5), 408–420. https://doi.org/10.3945/an.111.000513
3. Scoditti, E., Massaro, M., Garbarino, S., & Toraldo, D. M. (2019). Role of Diet in Chronic Obstructive Pulmonary Disease Prevention and Treatment. Nutrients, 11(6), 1357. https://doi.org/10.3390/nu11061357
4. Berry, M. J., Justus, N. W., Hauser, J. I., Case, A. H., Helms, C. C., Basu, S., Rogers, Z., Lewis, M. T., & Miller, G. D. (2015). Dietary nitrate supplementation improves exercise performance and decreases blood pressure in COPD patients. Nitric oxide : biology and chemistry, 48, 22–30. https://doi.org/10.1016/j.niox.2014.10.007
5. Lidder, S., & Webb, A. J. (2013). Vascular effects of dietary nitrate (as found in green leafy vegetables and beetroot) via the nitrate-nitrite-nitric oxide pathway. British journal of clinical pharmacology, 75(3), 677–696. https://doi.org/10.1111/j.1365-2125.2012.04420.x
6. Shin, J. Y., Shim, J. Y., Lee, D. C., & Lee, H. R. (2015). Smokers With Adequate Vitamin C Intake Show a Preferable Pulmonary Function Test. Journal of the American College of Nutrition, 34(5), 385–390. https://doi.org/10.1080/07315724.2014.926152
7. Mehta, A. J., Cassidy, A., Litonjua, A. A., Sparrow, D., Vokonas, P., & Schwartz, J. (2016). Dietary anthocyanin intake and age-related decline in lung function: longitudinal findings from the VA Normative Aging Study. The American journal of clinical nutrition, 103(2), 542–550. https://doi.org/10.3945/ajcn.115.121467
8. Riso, P., Klimis-Zacas, D., Del Bo’, C. et al. Effect of a wild blueberry (Vaccinium angustifolium) drink intervention on markers of oxidative stress, inflammation and endothelial function in humans with cardiovascular risk factors. Eur J Nutr 52, 949–961 (2013). https://doi.org/10.1007/s00394-012-0402-9

เริ่มต้นมีสุขภาพที่ดีได้แล้ววันนี้ด้วยแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential

ดาวน์โหลดเลย

 QR-code

 appstore  googleplay

Pulse by Prudential รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 11.0 ขึ้นไป | Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปเท่านั้น