เลือกภาษา
close
มลพิษทางอากาศและสุขภาพปอด
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและสุขภาพปอด

 

เขียนโดย: The Health Aisle Team
รับรองทางการแพทย์โดย: Dr. Aliya Kassamali, BSc. PharmD

 

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) บอกเราว่าหนึ่งในสามของผู้คนที่เสียชีวิตเพราะโรคมะเร็งปอดนั้นมีความเชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นจำนวนเกือบเทียบเท่าคนที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่เลยทีเดียว [1] การหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศเป็นเรื่องที่ยากไม่ว่าคุณจะอาศัยอยู่ที่ไหน แถมยังแย่ไปกว่าเดิมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอีก แต่มันก็พอมีวิธีที่คุณจะสามารถทำเพื่อปกป้องตัวเองได้

 

 

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ป่วยโรคปอดได้อย่างไรบ้าง [2][3]

  •  มลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นจากอุณภมิที่สูงขึ้น: เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนจะสร้างโอโซนระดับพื้นดิน หรือหมอกควัน ทำให้หายใจลำบากขึ้น
  • ฤดูไฟป่าที่นานและถี่กว่าเดิม: ควันจากไฟป่าสร้างมลพิษอนุภาคขนาดเล็กซึ่งสามารถเข้าไปในปอดได้ลึก ส่งผลต่อการหายใจ มลพิษเหล่านี้ทำให้อาการของคนที่เป็นโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) แย่ลงได้

  • พายุเฮอริเคนและน้ำท่วมบ่อยขึ้น: ผู้ป่วยโรคปอดที่จำเป็นต้องอพยพไปที่อื่นได้รับการรักษาและยายากขึ้น นอกจากนี้ น้ำท่วมยังทิ้งเชื้อรา สิ่งปฏิกูล และสารเคมีที่เป็นพิษอีกด้วย

  • สารก่อภูมิแพ้ที่เพิ่มขึ้น: ฤดูละอองเกสรที่ยาวขึ้นส่งผลต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้และอาจทำให้เป็นโรคหอบหืดกำเริบได้

 

 

ความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นกับแค่คนที่เป็นโรคปอดหรือไม่

ทุกคนมีความเสี่ยง แต่กลุ่มคนที่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปคือเด็กและคนชรา ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดโรคปอด หรืออาการที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือผุ้มีภาวะการหายใจที่รุนแรงอื่นๆ

 

 

คุณป้องกันตัวเองได้อย่างไรบ้าง [4]

  1. รับการรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ ตรวจร่างกายเพื่อให้มั่นใจว่าได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม

  2. ทำความเข้าใจอาการทางสุขภาพประจำตัวของคุณให้รู้ทันหากอาการกำลังแย่ลง เพื่อที่จะเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

  3. มีชุดยาประจำตัวของคุณเอง พร้อมวิธีการใช้ยา จดรายการสิ่งที่อาจทำให้คุณอาการกำเริบ วางแผนในการรักษาอาการของคุณหากอาการแย่ลง รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์และข้อมูลติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

  4. เตรียมชุดยาประจำตัวให้พร้อมเสมอ หมั่นตรวจสอบว่ายายังอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน และไม่หมดอายุ

  5. หากคุณต้องใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีเครื่องมือ หรือแหล่งลำเลียงออกซิเจนแบบพกพาที่ใช้ได้ในกรณีที่ไฟดับ

  6. มีน้ำดื่มที่เพียงพออยู่เสมอ (คุณอาจนำขวดน้ำดื่มใส่ลงไปในชุดยาประจำตัวได้)

  7. สังเกตุสาเหตุที่จะทำให้คุณอาการกำเริบ เช่น คุณภาพอากาศและละอองเกสรดอกไม้ และหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอกเมื่อมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย

 

อัตราการเป็นโรคปอดในระยะยาวสูงขึ้น พวกเราจึงควรต้องระวังมากขึ้นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในวันที่มีหมอกควัน! เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของการหายใจของคุณ เช่น หายใจเสียงดังฮืดฮาด ไอ หรือหายใจถี่ และไปพบแพทย์ทันทีหากจำเป็น อย่าลืมทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อปกป้องดูแลตัวคุณเอง

 

References:

  1. How air pollution is destroying our health.World Health Organization. (2018, October 29). https://www.who.int/news-room/spotlight/how-air-pollution-is-destroying-our-health

  2. Air Pollution | CDC. Centers for Disease Control and Prevention.National Center for Environmental Health. (2020, December 21).  https://www.cdc.gov/climateandhealth/effects/air_pollution.htm

  3. Health and climate change: policy responses to protect public health.Watts, N., Adger, W. N., Agnolucci, P.,et al. (2015).  Lancet (London, England), 386(10006), 1861–1914.  https://doi.org/10.1016/S0140-6736(15)60854-6

  4. Climate Change and Lung Health. American Lung Association. (2021, April 7). https://www.lung.org/clean-air/climate-change/climate-change-lung-health