เลือกภาษา
close

บริการช่วยเหลือในการสอบถามข้อมูล

หากคุณมีข้อสงสัยที่ต้องการทราบ เราพร้อมให้บริการเพื่อนำคุณไปหาคำตอบ

คำถามที่พบบ่อย

1.1 การประกันชีวิต คืออะไร?
  • การที่บริษัทประกันชีวิต ตกลงจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์หรือทายาท โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องส่งเบี้ยประกันภัยแก่บริษัทประกันชีวิตตามระยะเวลาที่กำหนด

  • การออมเงินพร้อมคุ้มครองชีวิต ซึ่งการออมเงินดังกล่าว สามารถระบุจำนวนเงิน และระยะเวลาของกรมธรรม์

1.2 ปัจจุบันบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีประกันชีวิตจำหน่ายอยู่กี่ประเภท อะไรบ้าง?
  • ประกันชีวิตส่วนบุคคล (Ordinary Life)

  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)

  • ประกันสินเชื่อ (Credit Life)

  • ยูนิตลิงค์ (Unit Link)

  • ประกันชีวิตกลุ่ม (Group Life)

1.3 ปัจจุบันบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีแบบของการประกันชีวิตกี่ประเภท อะไรบ้าง?
  • แบบตลอดชีพ (Whole Life) เป็นการประกันชีวิตให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ หรือหาก ผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยตามเงื่อนไขกรมธรรม์

  • แบบสะสมทรัพย์ (Endowment) เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยก็ต่อเมื่อมีชีวิตครบตามกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์

  • แบบกำหนดระยะเวลา (Term) เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชิวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่นๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้ หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา

1.4 ปัจจุบันบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีช่องทางการจำหน่ายกี่ช่องทาง ช่องทางใดบ้าง?
  • Face to Face เป็นการขายประกันผ่านตัวแทนของบริษัท ฯ ซึ่งตัวแทนขายจะต้องหาลูกค้าและขอเข้าพบลูกค้าเพื่อนำเสนอและวางแผนการออมให้แก่ลูกค้า โดยเบื้องต้นจะต้องสอบถามความต้องการของลูกค้าก่อน แล้วจึงนำเสนอแบบประกันที่เหมาะสมตรงกับ ความต้องการของลูกค้า ซึ่งตัวแทนขายแบบ Face to Face ของบริษัทฯ ในปัจจุบันมีดังนี้

    - ช่องทางขายผ่านตัวแทน (Agency)

    - ช่องทางขายผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ (Bancassurance)

  • Direct Marketing/ Telemarketing (DM/TM) เป็นช่องทางขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์

1.5 หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันภัย มีข้อกำหนดอะไรบ้าง?
  • ข้อกำหนดทั่วไป อันได้แก่ ข้อกำหนดเกี่ยวกับอายุ, เบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ, งวดการชำระเบี้ยประกันภัยความคุ้มครอง เป็นต้น

  • ข้อกำหนดเพิ่มเติม อันได้แก่ ตรวจ Anti – HIV (แล้วแต่กรณี), กลุ่มคนพิเศษที่ต้องมีการตรวจสุขภาพ ตามแบบฟอร์มบริษัทฯ (แล้วแต่กรณี), หลักเกณฑ์การรับประกันภัยสำหรับสตรีมีครรภ์/แม่บ้าน/พ่อบ้าน เยาวชน (อายุต่ำกว่า 17 ปี ) นักเรียน/นักศึกษา (อายุ 17 ปีขึ้นไป) พระภิกษุ และกรณีชาวต่างชาติ

  • ข้อกำหนดการรับประกันภัยแบบไม่ตรวจสุขภาพ (Non-Medical) ** ให้ตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง **

  • ข้อกำหนดของการตรวจสุขภาพ

  • ข้อกำหนดชั้นอาชีพของชีวิต

  • ข้อกำหนดหลักฐานแสดงฐานะทางการเงิน เป็นต้น

1.6 ปัจจุบันช่องทางการชำระค่าเบี้ยประกันภัยของ บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีกี่ช่องทาง ช่องทางใดบ้าง?

1. ชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ

- ชำระผ่านการหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีกระแสรายวัน

- ชำระผ่านการหักบัตรเครดิต

2. ชำระผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น, อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง, เอทีเอ็ม และเคาน์เตอร์ธนาคาร

- ลูกค้าของบริษัทฯ สามารถชำระโดยสแกนคิวอาร์/บาร์โค้ด จากใบเตือนถึงกำหนดชำระเบี้ย ประกันภัยที่ออกโดยบริษัทฯ หรือคลิกลิงก์ชำระเงินทันทีผ่านบาร์โค้ด จากข้อความผ่านมือถือ (SMS) ที่ออกโดยบริษัทฯ

3. ชำระผ่านเคาน์เตอร์ตัวแทนรับชำระเงิน

- ลูกค้าของบริษัทฯสามารถเลือกใช้บริการชำระค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับ กรมธรรม์ประกันชีวิตผ่าน “เคาน์เตอร์ตัวแทนรับชำระ” โดยนำ “ใบเตือนถึงกำหนดชำระเบี้ย ประกันภัยที่ออกโดยบริษัทฯ” ไปชำระได้ที่ เทสโก้โลตัส, เคาน์เตอร์เชอร์วิส (7-11), บิ๊กซี และ ที่ทำการไปรษณีย์

4. ชำระเบี้ยประกันภัยออนไลน์ผ่าน PRUPolicy และ PRUConnect

 

 

1.7 ถ้าต้องการทราบผลการอนุมัติใบคำขอเอาประกันภัย สามารถติดต่อที่ใด?

ลูกค้าสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้า ได้ที่ Call Center โทร. 1621 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-19.00 น.และวันเสาร์ เวลา 08.30-16.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์, วันหยุดธนาคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อีเมล: hotline@prudential.co.th

1.8 ถ้าต้องการสอบถามข้อมูลด้านอื่นๆ เพิ่มเติม จะติดต่อได้อย่างไร?

ลูกค้าสามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้า ได้ที่ Call Center โทร. 1621 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-19.00 น.และวันเสาร์ เวลา 08.30-16.00 น. (ยกเว้นวันอาทิตย์, วันหยุดธนาคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อีเมล: hotline@prudential.co.th

คำถามเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยการคงเงินคืนรายปีไว้กับบริษัทฯ

2.1 อัตราดอกเบี้ยสำหรับการคงเงินคืนรายปีไว้กับบริษัทฯ อัตราใหม่เป็นเท่าใด

2.00% ต่อปี

2.2 อัตราใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด

อัตราใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป

2.3 อัตราใหม่มีผลต่อยอดการคงเงินคืนรายปีกับบริษัทฯ ที่ผ่านมาหรือไม่

ดอกเบี้ยการคงเงินคืนรายปีอัตราใหม่นี้ จะไม่มีผลต่อยอดการคงเงินคืนรายปีกับบริษัทฯ ที่สะสมมา แต่ยอดเงินสะสมนั้น บริษัทฯ จะคิดดอกเบี้ยด้วยอัตราใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป

2.4 ลูกค้าสามารถถอนเงินคืนรายปีที่คงไว้กับบริษัทฯ ได้หรือไม่

ลูกค้าสามารถแจ้งความประสงค์ขอถอนเงินคืนรายปีที่คงไว้กับบริษัทฯได้ โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติม ระบุเลือกรับเงินคืนเป็นเช็ค หรือโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ พร้อมแนบเอกสารสำเนาบัตรประชน (ลงลายมือชื่อรับรองโดยผู้เอาประกันภัย) และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกโอนเข้าบัญชี) และจัดส่งเอกสารทั้งหมดมายังบริษัทฯ

โดยลูกค้าจะได้รับเงินคืน ภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่บริษัทฯ ได้รับเอกสารครบถ้วน

ช่องทางในการจัดส่งเอกสารมายังบริษัทฯ

  • ไปรษณีย์: ส่วนงานบริการกรมธรรม์ (Policy Service) บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย)

เลขที่ 9/9 อาคารแอทสาทร ชั้น 21 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120

  • โทรสาร: 0 2352 4888 กด 2
  • อีเมล: hotline@prudential.co.th
2.5 ในกรณีที่ลูกค้าได้ดำเนินการถอนเงินคืนรายปีที่คงไว้กับบริษัทฯ ไปแล้ว หากปีถัดไปต้องการแจ้งความประสงค์กลับมาคงเงินคืนรายปีกับบริษัทฯ ใหม่ สามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร

หากลูกค้าถอนเงินเงินคืนรายปีที่คงไว้กับบริษัทฯ ไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาคงเงินคืนรายปีไว้กับบริษัทฯ ได้อีก เนื่องจากการขอคงเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวสามารถใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียว

2.6 สำหรับลูกค้าใหม่ หากต้องการคงเงินคืนรายปีไว้กับบริษัทฯ ต้องดำเนินการอย่างไร

ลูกค้าต้องแจ้งความประสงค์ว่าต้องการคงเงินคืนระหว่างสัญญาไว้กับบริษัทฯ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครทำประกัน โดยกรอกแบบฟอร์มหนังสือแจ้งความจำนงเพื่อคงเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

2.7 พรูเด็นเชียลแสดงอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรณีลูกค้าคงเงินคืนรายปีไว้กับบริษัทฯ ไว้ที่ใด

ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/about-prudential-thailand/our-financial-performance/ หัวข้อ “ผลการดำเนินงานของเรา” ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินคืนรายปี สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามประกาศของบริษัทฯ

2.8 อัตราดอกเบี้ยสำหรับการคงเงินคืนรายปีไว้กับบริษัทฯ สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่

สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตตามประกาศของบริษัทฯ โดยจะประกาศไว้ในเว็บไซต์ ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/about-prudential-thailand/our-financial-performance/ หัวข้อ “ผลการดำเนินงานของเรา”

2.9 ลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงินคืนรายปีที่คงไว้กับบริษัทฯ ผ่านช่องทางใด

ลูกค้าสามารถตรวจสอบ หรือติดต่อมายังบริษัทฯ เพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับเงินคืนระหว่างสัญญาที่คงไว้กับบริษัทฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบข้อมูลได้จากใบเตือนถึงกำหนดชำระค่าเบี้ยประกันภัย ในส่วนของเงินผลประโยขน์
  2. ศูนย์บริการลูกค้า โทร.1621
  3. อีเมล hotline@prudential.co.th
  4. Line Official Prudential Thailand (Live Chat function)
  5. Facebook https://www.facebook.com/PrudentialThai/ ผ่านทาง Messenger (ฝากข้อความ)

คำถามเกี่ยวกับ การเรียกร้องสินไหมทดแทน

วิธีการเรียกร้องสินไหมทดแทนต้องทำอย่างไร ติดต่อที่ไหน และเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
3.1 การเรียกร้องเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีการเสียชีวิตธรรมดา
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารของผู้เอาประกันภัย

  • กรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย (ต้นฉบับ)

  • มรณบัตรต้นฉบับ (หากเป็นสำเนา ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกเอกสาร รับรองสำเนา

  • สำเนาบัตรประจำตัว ของผู้เอาประกันภัย รับรองโดยผู้รับประโยชน์

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย ที่มีประทับตรา “ตาย” รับรองโดยผู้รับประโยชน์


2. เอกสารของผู้รับประโยชน์

  • หนังสือเรียกร้องสินไหมมรณกรรม โดยมีลายเซ็นของผู้รับประโยชน์ครบทุกค

  • สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์

  • หนังสือยินยอมของผู้รับประโยชน์หรือทายาทในการเปิดเผยประวัติ
3.2 การเรียกร้องสินไหมตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีการเสียชีวิตจากอุบัติเิหตุหรือเหตุอื่น
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้

1. เอกสารของผู้เอาประกันภัย

  • กรมธรรม์ประกันภัยของผู้เอาประกันภัย (ต้นฉบับ)

  • มรณบัตรต้นฉบับ (หากเป็นสำเนา ต้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกเอกสาร รับรองสำเนา

  • สำเนาบัตรประจำตัว ของผู้เอาประกันภัย รับรองโดยผู้รับประโยชน์

  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย ที่มีประทับตรา “ตาย” รับรองโดยผู้รับประโยชน์


2. เอกสารของผู้รับประโยชน์

  • หนังสือเรียกร้องสินไหมมรณกรรม โดยมีลายเซ็นของผู้รับประโยชน์ครบทุกค

  • สำเนาบัตรประจำตัว และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับผลประโยชน์

  • หนังสือยินยอมของผู้รับประโยชน์หรือทายาทในการเปิดเผยประวัติ

 

3. เอกสารเพิ่มเติม

  • สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องจากตำรวจ
  • สำเนารายงานชันสูตรพลิกศพ
3.3 การเรียกร้องเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยจากอุบัติเหตุ (ในกรณีไม่เสียชีวิต)
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้
  • หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ผู้เอาประกันภัยกรอกรายละเอียดครบถ้วน)

  • รายงานของแพทย์หรือของสถานพยาบาล (ระบุรายละเอียดการรักษาครบถ้วน)

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย

3.4 การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีค่ารักษาพยาบาล
เอกสารประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่ต้องยื่นต่อบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้
  • หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ผู้เอาประกันภัยกรอกรายละเอียดครบถ้วน)

  • รายงานของแพทย์หรือของสถานพยาบาล (ระบุรายละเอียดการรักษาครบถ้วน)

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย

  • ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับและใบสรุปหน้างบ

คำถามเกี่ยวกับ การใช้บริการ HM FAX Claims

4.1 สามารถขอรับบริการแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวได้ที่ รพ. ใดบ้าง?

ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวได้ที่โรงพยาบาลเครือข่ายของ พรูเด็นเชียลฯ ทุกแห่ง สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลเครือข่ายได้ที่ Prudential website

4.2 การขอรับบริการแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวต้องใช้เอกสารและหลักฐานอะไรบ้าง?

เอกสารและหลักฐานประกอบการขอใช้บริการ มีดังนี้

  • บัตรประจำตัวผู้ถือกรมธรรม์ บมจ. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) หรือบัตรประจำตัวประชาชน

  • ผู้เอาประกันภัยลงนามในใบยืนยันการขอใช้สิทธิแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว

4.3 หากผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยายาลกับที่อื่น สามารถใช้สิทธิแฟกซ์เคลมได้หรือไม่?
  • หากผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกับที่อื่นหรือที่ทำงาน แล้วเลือกใช้สิทธิ Fax Claims จากสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว HM ก่อนที่จะใช้สิทธิกับที่อื่นๆ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเพียงสำเนาใบเสร็จรับเงินพร้อมใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายเป็นหลักฐาน (ไม่ใช่ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับ) เนื่องจากพรูเด็นเชียลฯ เป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางผลประโยชน์ในกรมธรรม์ให้กับโรงพยาบาล ดังนั้น โรงพยาบาลจะส่งใบเสร็จรับเงินต้นฉบับให้กับพรูเด็นเชียลฯ แต่หากมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนต่างนั้น ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับใบเสร็จรับเงินต้นฉบับเฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนต่างที่ผู้เอา-ประกันภัยเป็นผู้ชำระเองไปเบิกกับ ที่ทำงาน ประกันสังคม หรือบริษัทประกันอื่นๆ

  • หากผู้เอาประกันภัยมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกับที่อื่น แล้วเลือกใช้สิทธิ Fax Claims จากผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองอยู่ก่อน ผู้เอาประกันภัยจะได้รับสำเนาใบเสร็จรับเงินพร้อมใบแสดงรายการค่าใช้จ่ายเป็นหลักฐาน เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วผู้เอาประกันภัยก็ยังสามารถนำสำเนาใบเสร็จรับเงิน, ใบแสดงรายการค่าใช้จ่าย หนังสือเรียกร้องค่าสินไหม ใบรับรองแพทย์และสำเนาบัตรประชาชนส่งมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว HM จากพรูเด็นเชียลฯ ได้อีก เนื่องจากสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาว HM นี้เป็นการจ่ายค่าชดเชยฯ แบบเหมาจ่ายตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในตารางผลประโยชน์ในกรมธรรม์ โดยบริษัทฯ ไม่ได้จ่ายตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง ผู้เอาประกันภัยจะได้รับผลประโยชน์จากสิทธิความคุ้มครองที่มีอยู่แบบเต็มสิทธิ เนื่องจากสามารถใช้สิทธิได้ครบทั้งสองที่ ทั้งที่พรูเด็นเชียลฯ และจากความคุ้มครองอื่นๆที่มีอยู่

4.4 หากผู้เอาประกันภัยลงนามยืนยันใช้สิทธิแฟกซ์เคลมสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวแล้วจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้หรือไม่?

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเลือกใช้สิทธิเรียกร้องฯ Fax Claims ดังกล่าวแล้ว และบริษัทฯ ได้ยืนยันการชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ให้แก่โรงพยาบาล ผู้เอาประกันภัยจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกรับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพระยะยาวเป็นวิธีอื่นได้อีกไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ

คำถามเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีฯ

5.1 สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้รับความคุ้มครองก่อน 1 ม.ค. 2552 และมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มจำนวน แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันชีวิต (สำหรับลูกค้าที่ซื้อประกันชีวิตตั้งแต่ 1 มกราคม 2552)
Download

รายการผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่สามารถนำเบี้ยประกันคุ้มครองชีวิตมาใช้เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 172 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 30 ธ.ค. 2551
Download

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพ ฉบับที่ 315 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2560
Download

5.2 ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194)เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
Download