นักลงทุนมือใหม่ควรรู้ : ความสำคัญและประเภทของการลงทุน
ในยุคสมัยที่ค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ การออมเงินเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้นคนยุคใหม่จึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยต่อยอดเงินออม และสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยได้ ในบทความนี้จะขอพาไปรู้ถึงประโยชน์ของการลงทุน พร้อมกับรู้จัก 5 ประเภทของการลงทุนที่น่าสนใจ และปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มต้นลงทุน เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว
การลงทุนคืออะไร?
การลงทุน คือการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ และอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทองคำ หรือแม้แต่คริปโตเคอร์เรนซี ด้วยความคาดหวังว่าจะสร้างผลตอบแทนในอนาคต ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นอาจมาในรูปแบบของเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือมูลค่าของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นก็ได้
ความสำคัญของการลงทุน
อย่างที่ได้กล่าวไปถึงปัญหาเงินเฟ้อ และค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การฝากเงินหรือออมเงินเป็นประจำไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต รวมถึงในอนาคตระยะยาว เพราะถึงแม้ว่า การออมเงินจะปลอดภัย และให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ แต่อัตราดอกเบี้ยก็ไม่ได้สูงพอที่จะสร้างความมั่นคงทางการเงินได้ ทำให้การลงทุนมีความสำคัญอย่างมาก เพราะมาพร้อมกับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่า ทั้งยังสามารถช่วยให้เหล่านักลงทุนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น หรือตามที่ได้วางแผนเอาไว้
การออมเงิน VS การลงทุน
การออมเงิน หมายถึงการเก็บสะสมเงินไว้สำหรับใช้ในอนาคต ส่วนใหญ่มักจะออมเงินในรูปแบบของการฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งมีดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน โดยการเก็บออมเงินนี้จะมีความเสี่ยงต่ำ เงินต้นปลอดภัย และมีสภาพคล่องสูง
การลงทุน หมายถึงการนำเงินที่เก็บสะสมไว้ไปสร้างผลตอบแทน โดยลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผลตอบแทนจะน้อยหรือจะมากนั้น ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนสามารถยอมรับได้ มีตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำ ไปถึงความเสี่ยงสูง ตัวอย่างการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การฝากเงินกับธนาคาร แบบฝากเผื่อเรียก และฝากประจำ ไปจนถึงการซื้อสินทรัพย์เพื่อสร้างผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ย เงินปันผล หรือมูลค่าของสินทรัพย์ที่สูงขึ้น ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าการออมเงิน แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ตัวอย่างของการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงคือ กองทุนรวม และการซื้อหุ้น เป็นต้น
ข้อดี-ข้อจำกัด ของการออมและการลงทุนมีอะไรบ้าง?
ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อจำกัดของการออมและการลงทุน
|
การออมเงิน |
การลงทุน |
ข้อดี |
|
|
ข้อจำกัด |
|
|
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มต้นลงทุน
แม้ว่าการลงทุนจะเป็นหนทางสู่ความมั่งคั่งเช่นเดียวกับการออมเงิน แต่มักมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ โดยการลงทุนบางประเภทแม้จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดี แต่ก็มีความเสี่ยงสูง ยิ่งถ้าหากไม่ศึกษารายละเอียดให้ดี หรือขาดกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมก็อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สินได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลงทุนแบบไหนดี ควรศึกษารายละเอียดและพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ให้ถี่ถ้วนเสียก่อน เช่น
-
เป้าหมายทางการเงินของคุณ ควรพิจารณาว่าต้องการเงินลงทุนเพื่ออะไร ระยะเวลาที่ต้องการลงทุน รวมถึงระดับความเสี่ยงที่รับได้
-
งบประมาณในการลงทุนของคุณ ควรพิจารณาว่ามีเงินทุนเท่าไหร่ และสามารถลงทุนได้เท่าไหร่
-
ความรู้ และความเชี่ยวชาญในการลงทุน ควรพิจารณาว่าเรามีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากน้อยแค่ไหน และมีอะไรที่ควรศึกษาเพิ่มเติมบ้าง
-
กลยุทธ์ในการลงทุน ก่อนที่จะเลือกลงทุนอะไรก็ตาม ควรพิจารณาว่าเหมาะสมกับกลยุทธ์การลงทุนที่วางไว้หรือไม่
-
ความเสี่ยงของการลงทุน ต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ว่าอยู่ในระดับที่รับได้หรือไม่ และควรกระจายความเสี่ยงโดยหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียว
5 ประเภทของการลงทุนยอดนิยม
การลงทุนแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่นักลงทุนมือใหม่อยากรู้ ซึ่งการลงทุนนั้นมีหลายทางเลือกมาก ๆ แต่มีอยู่ 5 ประเภทของการลงทุนที่น่าสนใจและได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ
1. กองทุนรวม
กองทุนรวมคือกองทุนที่นำเงินจากนักลงทุนไปบริหารจัดการ และเลือกลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ดูแล ซึ่งกองทุนรวมจะมีอยู่หลายประเภท สามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงและผลตอบแทน เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมผสม ซึ่งหากถามว่ามีเงินน้อยลงทุนอะไรดี? กองทุนรวมก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม เพราะสามารถเลือกลงทุนขั้นต่ำได้ตั้งแต่ 500 - 1,000 บาทเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกองทุน
2. หุ้น
การลงทุนในหุ้นหมายถึงการซื้อหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้ลงทุนจะถือเป็นเจ้าของร่วมในบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ถือครอง ซึ่งการลงทุนในหุ้นนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ อาจเลือกลงทุนระยะยาวเพื่อหวังผลตอบแทนจากเงินปันผลหรือมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นก็ได้ รวมถึงสามารถเลือกลงทุนระยะสั้นเพื่อหวังผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาซื้อ-ขายหุ้นก็ได้เช่นกัน
3. ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ หมายถึงสัญญาการกู้ยืมเงินระหว่างผู้ลงทุนกับผู้กู้ มีหลายประเภท เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ การลงทุนในตราสารหนี้ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ และผลตอบแทนปานกลาง
4. หุ้นกู้
หุ้นกู้ หมายถึงสัญญาการกู้ยืมเงินระหว่างบริษัท ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบริษัทเอกชนกับนักลงทุน นักลงทุนจะมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืน โดยแต่ละระดับความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นกู้นั้น จะขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทเป็นหลัก
5. ประกันชีวิตควบคู่การลงทุน (Unit Linked)
ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ผสมระหว่างความคุ้มครองชีวิตของประกัน และโอกาสในการลงทุนไว้ด้วยกัน โดยเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิตและผลตอบแทนจากการลงทุน
แนะนำทางเลือกการลงทุนสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุน
หากถามว่านักลงทุนมือใหม่ควรลงทุนกับอะไรดีที่เริ่มต้นได้ง่ายและมีความเสี่ยงต่ำ 2 รูปแบบการลงทุนที่เราอยากแนะนำก็คือ กองทุนรวมและประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ Unit Linked
-
การลงทุนในกองทุนรวม สามารถเริ่มต้นลงทุนได้ง่าย และเริ่มลงทุนได้โดยไม่ต้องใช้เงินเริ่มต้นเยอะ อีกทั้งยังไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาก เพราะมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลกองทุนให้
-
การลงทุนพร้อมแผนคุ้มครองชีวิต (Unit Linked) ให้ความคุ้มค่าเพราะได้ทั้งการคุ้มครองชีวิต และการลงทุนในผลิตภัณฑ์เดียว อีกทั้งยังสามารถเลือกแผนที่เหมาะกับความต้องการและเป้าหมายของแต่ละคนได้ ที่สำคัญไม่จำเป็นต้องดูแลการลงทุนด้วยตนเองอีกด้วย
หากต้องการเริ่มต้นลงทุน แต่ยังไม่รู้จะลงทุนอะไรดี การเลือกซื้อประกันชีวิตควบการลงทุนถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เลือกทำประกันชีวิตควบการลงทุนจาก พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ให้คุณเลือกลงทุนได้ตามเป้าหมายที่ต้องการพร้อมกับแผนคุ้มครองชีวิต เลือกซื้อประกันและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1621
ข้อมูลอ้างอิง
-
Checklist 6 เรื่องต้องรู้ สำหรับมือใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.setinvestnow.com/th/beginner/6things-beginner-needs-to-know
-
อยากมั่งคั่ง มั่นคง ต้องคิดเริ่มลงทุน. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/430-tsi-invest-earlier-be-wealthy-faster