
เช็กรายการลดหย่อนภาษีและวิธีวางแผนลดหย่อนภาษี
การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่สำคัญของผู้มีเงินได้ทุกคน แต่เราสามารถลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปีได้ ด้วยการวางแผนลดหย่อนภาษี ก่อนที่จะทำการยื่นภาษีในทุก ๆ ปี ซึ่งสำหรับผู้ที่เพิ่งมีเงินได้ หรือกำลังต้องเสียภาษีในอัตราที่เพิ่มขึ้น แล้วต้องการลดหย่อนภาษี แต่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี เรามีเทคนิคที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีมาบอกกัน รับรองว่าทำตามได้ง่าย ช่วยลดภาษีได้จริง
ค่าลดหย่อนภาษีคืออะไร ?
ค่าลดหย่อนภาษี คือรายการค่าใช้จ่ายหรือเงินที่จ่ายไประหว่างปีที่ต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นรายการตามที่กฎหมายกำหนด ให้สามารถนำมาใช้ในการหักออกจากเงินได้สุทธิ ก่อนคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อลดอัตราภาระภาษีที่ต้องจ่าย
3 ขั้นตอนวางแผนลดหย่อนภาษี
1. เช็กสิทธิลดหย่อนภาษีที่ตนเองมี
ขั้นตอนแรกของการวางแผนลดหย่อนภาษี คือการเช็กสิทธิลดหย่อนภาษีที่ตนเองมี เพื่อนำไปหักลบกับเงินรายได้สุทธิ ก่อนนำไปคำนวณอัตราภาษีที่ต้องจ่าย โดยรายการลดหย่อนภาษี มีดังต่อไปนี้
รายการลดหย่อนภาษีขั้นพื้นฐาน
-
ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
-
คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
-
บุตรที่อยู่ในวัยเรียน และมีอายุไม่เกิน 25 ปี คนละ 30,000 บาท
-
บุตรตั้งแต่คนที่ 2 และเกิดในปี 2561 เป็นต้นไป คนละ 60,000 บาท
-
ค่าฝากครรภ์หรือคลอดบุตรไม่เกิน 60,000 บาท
-
ค่าอุปการะพ่อแม่อายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
-
ค่าอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
รายการลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
-
เบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
-
เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส (คู่สมรสไม่มีเงินได้) ลดหย่อนไม่เกิน 10,000 บาท
-
เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ ของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ไม่เกิน 15,000 บาท
-
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
-
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 500,000 บาท
-
เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ไม่เกิน 500,000 บาท
-
เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท
-
ค่าซื้อกองทุน (RMF : Retirement Mutual Fund) ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
-
ค่าซื้อกองทุน (SSF : Super Saving Funds) ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท
-
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 9,000 บาท
-
ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
รายการลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
-
เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษีอื่น ๆ แล้ว
-
เงินบริจาคทั่วไป ไม่เกิน 10 % ของเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
-
เงินบริจาคพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
2. ประเมินเงินได้สุทธิ
เมื่อรู้แล้วว่าตนเองมีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง ก็ถึงเวลาคำนวณเงินได้สุทธิ เพื่อดูว่าตนเองมีอัตราภาษีที่ต้องจ่ายอยู่ที่เท่าไร โดยมีวิธีในการคำนวณเงินได้สุทธิ ดังต่อไปนี้
สูตรคำนวณเงินได้สุทธิ
รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ตัวอย่าง
นางสาว ก มีรายได้เดือนละ 60,000 บาท มีรายการลดหย่อนภาษี คือ ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท กองทุนประกันสังคม 9,000 บาท และเบี้ยประกันสุขภาพ 12,000 บาท
คำนวณได้เป็น (60,000 x 12) - 100,000 - (60,000 + 9,000 + 12,000) = 539,000
สรุป เงินได้สุทธิ 539,000 บาท
เมื่อได้เงินได้สุทธิแล้ว ก็ต้องนำไปคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย โดยมีอัตราภาษี ดังนี้
ขั้นเงินได้สุทธิ (บาท) |
อัตราภาษี (%) |
ไม่เกิน 150,000 |
ยกเว้น |
150,001 - 300,000 |
5 |
300,001 - 500,000 |
10 |
500,001 - 750,000 |
15 |
750,001 - 1,000,000 |
20 |
1,000,001 - 2,000,000 |
25 |
2,000,001 บาทขึ้นไป |
35 |
สูตรคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
คำนวณได้เป็น 539,000 x 15% = 80,850
3. ซื้อประกันชีวิต และประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี
หลังจากที่คำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่ายได้แล้ว หากต้องการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม สามารถเลือกซื้อประกันชีวิตให้แก่ตนเอง รวมถึงให้แก่พ่อแม่ได้ ซึ่งไม่เพียงจะสามารถนำไปลดภาระภาษีได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความอุ่นใจว่าหากเจ็บป่วย จะมีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยไม่ต้องกระทบกับเงินเก็บออมอีกด้วย
ข้อดีของการวางแผนลดหย่อนภาษี
-
หากมีการวางแผนลดหย่อนภาษีที่ดี จะช่วยประหยัดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเป็นภาษีได้มากขึ้น
-
เมื่อจ่ายภาษีลดลง ก็จะมีเงินเหลือเก็บมากขึ้น หรือจะนำไปใช้ลงทุนให้งอกเงยขึ้นก็ได้เช่นกัน
-
การวางแผนลดหย่อนภาษี จะทำให้ได้รู้ว่าตนเองมีค่าลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง และได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิลดหย่อนภาษีอย่างคุ้มค่าอีกด้วย
ทั้งหมดนี้ คือเคล็ดลับในการวางแผนลดหย่อนภาษีที่เราได้นำมาบอกกัน และสำหรับใครที่ต้องการลดหย่อนภาษี มาเลือกซื้อประกันสุขภาพและประกันชีวิตกับทางจากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ได้เลย มีหลายแผนให้เลือกที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของคุณ
ข้อมูลอ้างอิง