
อัปเดต! ฐานเงินเดือนเสียภาษีและค่าลดหย่อนเพิ่มเติมในปี 2567
ใกล้สิ้นปีทีไร หลายคนคงเริ่มปวดหัวกับการต้องคิดคำนวณภาษีล่วงหน้า แต่สำหรับเด็กจบใหม่ หรือมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งก้าวเข้าสู่การทำงานได้ไม่นาน อาจมีคำถามว่า ตนเองเข้าข่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือต้องมีฐานเงินเดือนเท่าไรถึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในบทความนี้จะพาไปดูกันว่า เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษีในปี 2567 พร้อมอัปเดตวิธีลดหย่อนภาษีที่เหล่าคนทำงานสามารถวางแผนเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้ โดยเฉพาะสายท่องเที่ยว รับรองว่าปีนี้เที่ยวได้คุ้ม แถมนำไปลดหย่อนภาษีได้สมใจ!
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- อัตราเสียภาษีในปี 2567
- สูตรในการคิดคำนวณ ภาษีที่ต้องจ่าย
- อัปเดต! มาตรการลดหย่อนภาษีในปี 2567
- วางแผนให้ดี! เลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ตอบโจทย์การลดหย่อนภาษี
อัตราเสียภาษีในปี 2567
ฐานภาษี 2567 จะคิดตามเงินได้สุทธิทั้งหมดภายในปีที่นำมาคำนวณภาษี ซึ่งครอบคลุมทั้งเงินเดือน โบนัส ค่าคอมมิชชัน เบี้ยเลี้ยง รายได้จากงานอิสระ โดยสามารถตรวจสอบฐานเงินเดือนเสียภาษี ได้จากในตารางนี้
เงินได้สุทธิ (บาท) |
อัตราภาษี |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
ไม่เกิน 150,000 บาท |
ได้รับการยกเว้น |
ได้รับการยกเว้น |
150,001 - 300,000 บาท |
5% |
7,500 |
300,001 - 500,000 บาท |
10% |
20,000 |
500,001 - 750,000 บาท |
15% |
37,500 |
750,001 - 1,000,000 บาท |
20% |
50,000 |
1,000,001 - 2,000,000 บาท |
25% |
250,000 |
2,000,001 - 5,000,000 บาท |
30% |
900,000 |
5,000,001 บาท ขึ้นไป |
35% |
- |
สูตรในการคิดคำนวณ ภาษีที่ต้องจ่าย ได้แก่
(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด
นอกจากนี้ ยังมีค่าลดหย่อนพื้นฐานที่จะถูกนำมาคิดรวมด้วย เช่น
-
รายได้จากเงินเดือน หรือการทำงานประจำ ที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
-
ค่าลดหย่อนส่วนตัวที่หักได้ 60,000 บาท
-
เงินประกันสังคมที่สามารถลดหย่อนภาษีตามยอดจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
ตัวอย่างเช่น หากเป็นพนักงานออฟฟิศที่มีเงินเดือน 25,000 บาทต่อเดือน ได้รับโบนัส 30,000 บาท เงินได้สุทธิตลอดทั้งปีจะเป็นจำนวนเงิน (25,000 x 12) + 30,000 = 330,000 บาท ซึ่งถือเป็นรายได้จากการรับเงินเดือน จึงสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท อีกทั้งยังมีค่าลดหย่อนส่วนตัวที่หักได้ 60,000 บาท รวมถึงมีค่าลดหย่อนจากเงินประกันสังคมอีก 9,000 บาท
เงินได้สุทธิทั้งหมดจึงเป็นจำนวน 330,000 - 100,000 - 60,000 - 9,000 = 161,000 บาท ซึ่งจะมีฐานเงินเดือนเสียภาษี อยู่ในขั้น 150,001 - 300,000 บาท และสามารถนำมาแจกแจงตามตารางได้ ดังนี้
-
เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า 150,000 บาท
-
อัตราภาษี 5%
-
ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้น
ดังนั้น หากนำมาแทนค่าตามสูตรจะได้ค่าภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนเงิน (161,000 - 150,000 ) x 5% = 550 บาท แต่หากมีการวางแผนค่าลดหย่อนไว้ล่วงหน้า อาจไม่ต้องเสียภาษี และยังมีโอกาสได้รับการคืนเงินภาษีอีกด้วย
อัปเดต! มาตรการลดหย่อนภาษีในปี 2567
นอกจากค่าลดหย่อนพื้นฐานแล้ว ในแต่ละปียังมีการลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายของทางภาครัฐ ซึ่งค่าลดหย่อน ในปี 2567 ได้แก่มาตรการ ดังนี้
-
เที่ยวเมืองรอง 2567
ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลอนุมัติให้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินทางไปท่องเที่ยวในเมืองรอง 55 จังหวัด ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567 มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยครอบคลุมค่าบริการจ่ายค่าธุรกิจนำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์ ค่าแพ็กเกจทัวร์ รวมถึงค่าที่พักในรีสอร์ต หรือโฮมสเตย์ ที่ไม่ใช่โรงแรม -
ThaiESG
Thai ESG (Thailand ESG Fund) หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่ออกโดยภาครัฐหรือกิจการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุน ให้สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ โดยได้ขยายวงเงินเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีจาก 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท ต่อคนและต่อปี (ไม่รวมวงเงินกลุ่มเกษียณ) สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 โดยต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่สำหรับผู้ซื้อหน่วยลงทุนในปี 2566 ต้องถือครองอย่างน้อย 8 ปีตามเดิม ซึ่งกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ThaiESG ที่ถือครองครบตามเกณฑ์กำหนด จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ลงทุนสามารถหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกปีจนถึงปี 2569 หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
วางแผนให้ดี! เลือกผลิตภัณฑ์การเงินที่ตอบโจทย์การลดหย่อนภาษี
การวางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน ยิ่งถ้ามีการวางแผนที่ดีตั้งแต่เริ่ม ก็จะสามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลากหลายประเภทที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่การจะเลือกผลิตภัณฑ์ใดนั้น ยังจะขึ้นอยู่กับความต้องการและเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคลเป็นหลัก
โดยก่อนตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อลดหย่อนภาษี สิ่งแรกที่ควรทำคือการวิเคราะห์ถึงความต้องการและเป้าหมายทางการเงินของตนเองให้ชัดเจนเสียก่อน โดยดูว่าเราอยากจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยคุ้มครองชีวิต หรือต้องการเก็บเงินระยะยาว หรือแค่มองหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์ก็ล้วนตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันไป เช่น หากต้องการนำไปลดหย่อนภาษี ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุด ไปพร้อม ๆ กับการพิจารณาถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่จะได้รับ อย่างประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท หรือลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป ซึ่งตอบโจทย์ทั้งการลดหย่อนภาษีและสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในระยะยาวได้
สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่ต้องการวางแผนลดหย่อนภาษี การพิจารณาเลือกทำประกันชีวิตเอาไว้ ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญที่นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งหากไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนแบบทั่วไป ก็สามารถลดหย่อนได้เพิ่มอีก 100,000 รวมลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ทำให้สามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่า เพื่อชีวิตที่สุขสบาย มีเงินเหลือออมในวันหน้า เลือกแผนประกันที่ตรงใจจากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ได้เลย!
ข้อมูลอ้างอิง
'ลดหย่อนภาษี 2567' ขอคืนภาษีต้องทำยังไง เช็กก่อน ยื่นภาษี 2567
ครม.เห็นชอบเกณฑ์ Thai ESG ใหม่ ฟื้นตลาดทุน
เช็กที่นี่ มาตรการลดภาษี เที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด จ่ายค่าอะไรบ้าง