พลิกวิกฤติเป็นโอกาส จะผลักดันยังไง ไม่ให้สมาธิสั้นมาขวางกั้นอนาคตลูก
เด็กสมาธิสั้น ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิต แต่จะสังเกตยังไงว่าลูกของเรามีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) เพื่อเลือกวิธีรับมือได้อย่างเหมาะสม แล้วจำเป็นไหมที่ต้องมาพร้อมกับภาวะบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia) อยากพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพื่อผลักดันให้ลูกใช้ศักยภาพได้ถูกทาง นี่คือคำแนะนำที่เราอยากบอกต่อ
พ่อแม่ควรรู้ไว้ “สมาธิสั้น” คืออะไร พฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยง
ภาวะสมาธิสั้น หรือ ADHD หรือที่หลายคนเรียกว่า “ไฮเปอร์” เพราะมักเข้าใจว่า เด็กซน เท่ากับ สมาธิสั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาวะสมาธิสั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ตามลักษณะพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ
-
กลุ่มซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) สามารถวิ่งเล่นได้ทั้งวันแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย พูดไม่หยุด ชอบปีนป่าย
-
กลุ่มหุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) มีความใจร้อน อดทนรอคอยอะไรไม่ค่อยได้ ชอบพูดแทรก
-
กลุ่มขาดสมาธิ (Attention Deficit) มักมีอาการเหม่อลอยเหมือนไม่ฟังเวลาพูดคุยด้วย วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย ขี้หลงขี้ลืม ทำของหายบ่อยๆ
พฤติกรรมเหล่านี้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะสมาธิสั้นสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การจัดการเวลา ตารางชีวิต ไปจนถึงทักษะการเข้าสังคมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้
แล้วภาวะ Dyslexia คืออะไร เด็กสมาธิสั้นทุกคน..จะมีภาวะนี้ร่วมด้วย จริงไหม?
Dyslexia เป็นภาวะบกพร่องในด้านการเรียนรู้ภาษา ทำให้มีปัญหาในด้านการอ่าน จดจำตัวอักษรไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ได้ ไม่เข้าใจในสิ่งที่อ่าน และเมื่ออ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดความยากลำบากในการเขียน มักสะกดคำผิด หรือผสมคำเอาเอง สลับตัวอักษรหรือตัวเลขต่างๆ จนกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมาย หรือความหมายแปรเปลี่ยนไป รวมทั้งยังมีปัญหาในการแยกแยะเสียงตัวอักษรที่ได้ยิน
เพราะภาวะ Dyslexia มักจะพบในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นแบบเหม่อ ขาดสมาธิในการฟังคุณครู จนส่งผลให้มีปัญหาด้านการอ่านและเขียน ถึงแม้ว่าความรู้ในเชิงวิชาการจะเป็นเรื่องที่น่าเข้าใจยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้ แต่ก็พบว่าส่วนใหญ่มาพร้อมกับพรสวรรค์ในด้านอื่น เช่น วาดภาพ ปั้น หรือ ประดิษฐ์
ถึงสมาธิสั้น...ก็เก่งได้ หากพ่อแม่รู้จักวิธีในการรับมือ
เด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน และพ่อแม่ก็สามารถผลักดันให้เขากลายเป็นเด็กอัจฉริยะ พร้อมแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้คนอื่นๆ มองเห็นได้ โดยวิธีการเหล่านี้
- จัดทำตารางเวลาที่ชัดเจน และติดไว้ในที่ที่ลูกมองเห็น เพื่อให้ลูกฝึกการจัดการตารางชีวิต รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร รู้จักวางแผนแบ่งเวลา และปฏิบัติซ้ำจนกลายเป็นนิสัย โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลในช่วงแรก
- ปรับบรรยากาศการทำการบ้านให้สงบ เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลให้เด็กวอกแวก อยู่ไม่นิ่ง โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยนั่งประกบเพื่อดึงสมาธิของเขาให้กลับมา
- แบ่งเวลาทำกิจกรรมเพื่อปลดปล่อยพลังงาน ในเด็กสมาธิสั้นประเภทที่ซน พลังงานเยอะ พ่อแม่รวมถึงคุณครูควรให้เขาได้ทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย
- กล่าวชมเชยเมื่อลูกทำงานได้สำเร็จ ให้เขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะทำงานอื่นๆ ให้สำเร็จต่อไป
- ไม่ใช้คำพูดเชิงลบ ไม่ทำโทษด้วยความรุนแรง เมื่อลูกทำผิดพลาด แต่ควรตั้งกฎกติกาและทำข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ถ้าลูกทำงานนี้ไม่เสร็จ จะต้องอดดูทีวี 1 วัน เป็นต้น
- ไม่กดดันเรื่องผลการเรียน แต่ผลักดันในสิ่งที่ลูกชอบ เพราะความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในด้านวิชาการ ลูกอาจเป็นนักดนตรีที่บรรเลงเพลงไพเราะจับใจ เป็นจิตรกรที่วาดภาพได้สวยสมจริง ดังนั้น การยอมรับและเข้าใจในตัวตนของลูก พร้อมช่วยผลักดันให้เขาดึงศักยภาพออกมาใช้อย่างถูกทาง เด็กสมาธิสั้นก็สามารถกลายเป็นเด็กที่เก่ง และประสบความสำเร็จในชีวิตได้
การดูแลลูกที่มีภาวะสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้เวลายาวนานกว่าจะดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจในภาวะนี้ และมีความอดทนอย่างมาก รวมทั้งต้องสื่อสารขอความร่วมมือจากทางคุณครูและโรงเรียน ในการคอยดูแล คอยผลักดัน เพื่อให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้เหมือนกับคนทั่วไป
เด็กสมาธิสั้น ไม่ได้แปลว่าพวกเขาจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิต แต่จะสังเกตยังไงว่าลูกของเรามีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) เพื่อเลือกวิธีรับมือได้อย่างเหมาะสม แล้วจำเป็นไหมที่ต้องมาพร้อมกับภาวะบกพร่องทางการอ่าน (Dyslexia) อยากพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพื่อผลักดันให้ลูกใช้ศักยภาพได้ถูกทาง นี่คือคำแนะนำที่เราอยากบอกต่อ
พ่อแม่ควรรู้ไว้ “สมาธิสั้น” คืออะไร พฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยง
ภาวะสมาธิสั้น หรือ ADHD หรือที่หลายคนเรียกว่า “ไฮเปอร์” เพราะมักเข้าใจว่า เด็กซน เท่ากับ สมาธิสั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาวะสมาธิสั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ตามลักษณะพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ
-
กลุ่มซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) สามารถวิ่งเล่นได้ทั้งวันแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย พูดไม่หยุด ชอบปีนป่าย
-
กลุ่มหุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) มีความใจร้อน อดทนรอคอยอะไรไม่ค่อยได้ ชอบพูดแทรก
-
กลุ่มขาดสมาธิ (Attention Deficit) มักมีอาการเหม่อลอยเหมือนไม่ฟังเวลาพูดคุยด้วย วอกแวกตามสิ่งเร้าได้ง่าย ขี้หลงขี้ลืม ทำของหายบ่อยๆ
พฤติกรรมเหล่านี้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ภาวะสมาธิสั้นสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การจัดการเวลา ตารางชีวิต ไปจนถึงทักษะการเข้าสังคมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้
แล้วภาวะ Dyslexia คืออะไร เด็กสมาธิสั้นทุกคน..จะมีภาวะนี้ร่วมด้วย จริงไหม?
Dyslexia เป็นภาวะบกพร่องในด้านการเรียนรู้ภาษา ทำให้มีปัญหาในด้านการอ่าน จดจำตัวอักษรไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ได้ ไม่เข้าใจในสิ่งที่อ่าน และเมื่ออ่านสะกดคำไม่ถูกต้อง ก็จะเกิดความยากลำบากในการเขียน มักสะกดคำผิด หรือผสมคำเอาเอง สลับตัวอักษรหรือตัวเลขต่างๆ จนกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมาย หรือความหมายแปรเปลี่ยนไป รวมทั้งยังมีปัญหาในการแยกแยะเสียงตัวอักษรที่ได้ยิน
เพราะภาวะ Dyslexia มักจะพบในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นแบบเหม่อ ขาดสมาธิในการฟังคุณครู จนส่งผลให้มีปัญหาด้านการอ่านและเขียน ถึงแม้ว่าความรู้ในเชิงวิชาการจะเป็นเรื่องที่น่าเข้าใจยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้ แต่ก็พบว่าส่วนใหญ่มาพร้อมกับพรสวรรค์ในด้านอื่น เช่น วาดภาพ ปั้น หรือ ประดิษฐ์
ถึงสมาธิสั้น...ก็เก่งได้ หากพ่อแม่รู้จักวิธีในการรับมือ
เด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน และพ่อแม่ก็สามารถผลักดันให้เขากลายเป็นเด็กอัจฉริยะ พร้อมแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้คนอื่นๆ มองเห็นได้ โดยวิธีการเหล่านี้
- จัดทำตารางเวลาที่ชัดเจน และติดไว้ในที่ที่ลูกมองเห็น เพื่อให้ลูกฝึกการจัดการตารางชีวิต รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร รู้จักวางแผนแบ่งเวลา และปฏิบัติซ้ำจนกลายเป็นนิสัย โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยดูแลในช่วงแรก
- ปรับบรรยากาศการทำการบ้านให้สงบ เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลให้เด็กวอกแวก อยู่ไม่นิ่ง โดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองคอยนั่งประกบเพื่อดึงสมาธิของเขาให้กลับมา
- แบ่งเวลาทำกิจกรรมเพื่อปลดปล่อยพลังงาน ในเด็กสมาธิสั้นประเภทที่ซน พลังงานเยอะ พ่อแม่รวมถึงคุณครูควรให้เขาได้ทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย
- กล่าวชมเชยเมื่อลูกทำงานได้สำเร็จ ให้เขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจ และมีกำลังใจที่จะทำงานอื่นๆ ให้สำเร็จต่อไป
- ไม่ใช้คำพูดเชิงลบ ไม่ทำโทษด้วยความรุนแรง เมื่อลูกทำผิดพลาด แต่ควรตั้งกฎกติกาและทำข้อตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ถ้าลูกทำงานนี้ไม่เสร็จ จะต้องอดดูทีวี 1 วัน เป็นต้น
- ไม่กดดันเรื่องผลการเรียน แต่ผลักดันในสิ่งที่ลูกชอบ เพราะความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในด้านวิชาการ ลูกอาจเป็นนักดนตรีที่บรรเลงเพลงไพเราะจับใจ เป็นจิตรกรที่วาดภาพได้สวยสมจริง ดังนั้น การยอมรับและเข้าใจในตัวตนของลูก พร้อมช่วยผลักดันให้เขาดึงศักยภาพออกมาใช้อย่างถูกทาง เด็กสมาธิสั้นก็สามารถกลายเป็นเด็กที่เก่ง และประสบความสำเร็จในชีวิตได้
การดูแลลูกที่มีภาวะสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้เวลายาวนานกว่าจะดีขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจในภาวะนี้ และมีความอดทนอย่างมาก รวมทั้งต้องสื่อสารขอความร่วมมือจากทางคุณครูและโรงเรียน ในการคอยดูแล คอยผลักดัน เพื่อให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้เหมือนกับคนทั่วไป