
ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Copayment Renewal เกณฑ์ใหม่ประกันสุขภาพ ปี 2568
ล่าสุด สมาคมประกันชีวิตไทยได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการเคลมประกันสุขภาพ โดยนำเงื่อนไข Copayment หรือการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลมาใช้ ทำให้ช่วงนี้เกิดกระแสความสนใจในเรื่องประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับ Copayment มาดูกันว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ควรรู้
Copayment คืออะไร?
Copayment หรือ "การจ่ายร่วม" คือการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันตามสัดส่วนที่กำหนด
ประเภทของ Copayment
Copayment ตั้งแต่แรก
คือ การเลือกซื้อกรมธรรม์ที่มีเงื่อนไข Copayment ตั้งแต่ปีแรก ค่าเบี้ยฯจะถูกลงตามสัดส่วนที่ตกลงไว้
Copayment ในปีต่ออายุ
คือ การต่ออายุประกันสุขภาพของกรมธรรม์ที่ซื้อหลังจากมีการบังคับใช้ Copayment ตามกฎเกณฑ์ใหม่้ หากผู้ถือกรมธรรม์มีการเคลมประกันตรงตามเงื่อนไข Copayment คือ มีอัตราการเคลมประกันสุขภาพตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปต่อปี และ อัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะเข้าข่าย Copayment Penalty ทำให้ในปีถัดไปผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินร่วมหากมีการเคลมประกันสุขภาพ
ประเภทของประกันสุขภาพในปัจจุบัน
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่กำหนด สามารถใช้ได้ตามจริง ไม่จำกัดหมวดหมู่การรักษา
ประกันสุขภาพแบบแยกค่ารักษา
กำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลในแต่ละประเภท เช่น ค่าห้อง ค่าผ่าตัด ค่าแพทย์
ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม
คุ้มครองพนักงานในองค์กร หรือกลุ่มบุคคลที่มีการทำประกันร่วมกัน
ประกันสุขภาพแบบมี Deductible
มีค่ารับผิดชอบส่วนแรกก่อนที่บริษัทประกันจะจ่ายส่วนที่เหลือ
Copayment Renewalเริ่มใช้เมื่อไหร่?
มีผลกับ กรมธรรม์ใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 กรมธรรม์ปัจจุบันที่ถืออยู่ก่อนวันดังกล่าว ไม่ได้รับผลกระทบ
เงื่อนไขของ Copayment Renewal
หากซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป กรมธรรม์จะเข้าข่าย Copayment Renewal เมื่อมีการเคลมตามเงื่อนไขต่อไปนี้:
-
เคลมค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับโรคที่ไม่รุนแรง ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป/ปี และอัตราการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
-
เคลมค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงหรือการผ่าตัดใหญ่) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป/ปี และเกิน 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
-
เข้าเงื่อนไขข้อ 1 และ 2 พร้อมกัน จะต้องร่วมจ่าย 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป
ตัวอย่างกรณีที่เข้าเงื่อนไข Copayment Renewal
กรณี 1: เคลมค่ารักษาผู้ป่วยในโรคไม่รุนแรง
นาย A มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพปีละ 20,000 บาท
เข้ามีอาการไข้หวัดและต้องนอนโรงพยาบาล 4 ครั้ง
ค่าใช้จ่ายรวม 45,000 บาท (225% ของค่าเบี้ย)
เนื่องจากเข้าเงื่อนไข การเคลมผู้ป่วยในโรคไม่รุนแรงตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปและมากกว่า 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
ในปีถัดไป นาย A จะเข้าข่ายเงื่อนไข Copayment Penalty หากในปีถัดไป นาย A เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นาย A จะต้องร่วมจ่ายค่ารักษา 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป ซึ่งหมายถึงนาย A เข้าข่ายเงื่อนไข Copayment 30%
กรณี 2: เคลมค่ารักษาผู้ป่วยในโรคทั่วไป
นาย B มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 30,000 บาท
เธอเข้ารับการรักษาโรคกระเพาะอาหาร 3 ครั้ง และค่าใช้จ่ายรวม 140,000 บาท (466% ของเบี้ย)
เนื่องจากเข้าเงื่อนไข การเคลมผู้ป่วยในโรคไม่รุนแรงตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปและมากกว่า 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
ในปีถัดไป นาย B จะเข้าข่ายเงื่อนไข Copayment Penalty หากในปีถัดไป นาย B เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นาย B จะต้องร่วมจ่ายค่ารักษา 30% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป ซึ่งหมายถึงนาย B เข้าข่ายเงื่อนไข Copayment 30%
กรณี 3: เข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อ
นาย C มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 25,000 บาท
เข้ารับการรักษาโรคไข้หวัด 4 ครั้งและโรคกระเพาะ 3 ครั้ง รวม 180,000 บาท
เนื่องจากเข้าเงื่อนไข การเคลมผู้ป่วยในโรคไม่รุนแรงตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปและมากกว่า 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
ในปีถัดไป นาย C จะเข้าข่ายเงื่อนไข Copayment Penalty หากในปีถัดไป นาย C เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นาย C จะต้องร่วมจ่ายค่ารักษา 50% ทุกค่ารักษาในปีถัดไป ซึ่งหมายถึงนาย C เข้าข่ายเงื่อนไข Copayment 50%
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Copayment
1. Copayment Renewal มีผลกับ OPD หรือไม่?
ไม่มีผล ใช้เฉพาะกับการรักษาผู้ป่วยใน (IPD) เท่านั้น
2. Copayment ต่างกับ Deductible อย่างไร?
-
Copayment: ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายร่วมตามเปอร์เซ็นต์ของค่ารักษา
-
Deductible: ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนแรกก่อนที่บริษัทประกันจะจ่ายส่วนที่เหลือ
-
หากมีทั้ง Deductible และ Copayment ต้องจ่าย Deductible ก่อน แล้วจึงคิด Copayment จากส่วนที่เหลือ
3. เกณฑ์ Copayment Renewal มีผลย้อนหลังกับกรมธรรม์เก่าหรือไม่?
-
ไม่มีผลย้อนหลัง หากถือกรมธรรม์อยู่แล้วก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2568 และกรมธรรม์ยังมีผลบังคับ
-
กรมธรรม์ใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 21 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป ต้องพิจารณาตามเงื่อนไข Copayment
4. หากมีหลายกรมธรรม์ จะถูก Copayment ทั้งหมดหรือไม่?
แยกพิจารณาตามแต่ละกรมธรรม์ ไม่ได้รวมทุกกรมธรรม์เข้าด้วยกัน
5. ซื้อประกันสุขภาพตอนนี้ ดีและทันหรือไม่?
แนะนำให้ซื้อกรมธรรม์และอนุมัติก่อน 21 มีนาคม 2568 เพื่อเลี่ยง Copayment renewal ในอนาคต และเบี้ยประกันสุขภาพยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท/ปี