
อย่าปล่อยชีวิตให้เปื้อนฝุ่น PM2.5 อยู่ให้รอดและปลอดภัย
วงเวลาเช้า ๆ ของทุกวันนี้ ออกจากบ้านก็จะเจอกับฝุ่นควันสีขาวลอยเต็มอยู่ในอากาศ แถมค่าฝุ่นที่วัดได้ยังอันตรายต่อสุขภาพไปอีก โดยในช่วงต้นปี 2568 ค่าฝุ่นเกิน PM2.5 อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่ง จ.นครปฐมมีค่าฝุ่นสูงที่สุดที่ 176 US AQI แล้วอย่างนี้เราจะใช้ชีวิตอยู่กันอย่างไร ในวันที่ฝุ่น PM2.5 กำลังบุกมาทำร้ายสุขภาพของทุกคน
Table of Content:
-
ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำไมถึงอันตราย ?
-
ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในไทยมักเกิดในช่วงเวลาไหน ?
-
ฝุ่น PM 2.5 กระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?
-
อยู่ยังไงให้รอด ในยุค “ชีวิตเปื้อนฝุ่น”
-
วิธีกำจัดสารพิษที่มากับฝุ่นออกจากร่างกาย
ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำไมถึงอันตราย ?
ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กกว่าเส้นผมถึง 20-40 เท่า (เส้นผมคนเรามีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 50-100 ไมครอน) แม้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ก็สามารถผ่านระบบหายใจเข้าไปในปอด ไปถึงถุงลม และเข้าสู่กระแสเลือด ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา
ฝุ่น PM2.5 เกิดจากอะไร ?
การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยพยายามร่วมกันลดสาเหตุดังต่อไปนี้
-
ไอเสียจากรถยนต์และการจราจร การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะในเมืองหรือพื้นที่ที่การจราจรติดขัด ก็จะยิ่งเพิ่มปริมาณของฝุ่นมากยิ่งขึ้น
-
โรงงานอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน
-
การเผาในที่โล่ง เช่น การเผาเศษวัสดุ การเผาเพื่อเตรียมการเพาะปลูก รวมถึงไฟป่า และการหุงอาหารด้วยฟืนหรือไม้
-
สภาพแวดล้อม ในช่วงที่ความกดอากาศสูง และสภาพอากาศนิ่ง หรือภูมิประเทศที่ทำให้เกิดสภาวะอากาศปิด จะทำให้ฝุ่นแขวนลอยในอากาศและสะสมอยู่นาน
ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในไทยมักเกิดในช่วงเวลาไหน ?
จริงแล้วในแต่ละภูมิภาคของไทย จะเกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่แตกต่างกันตามภูมิภาคและฤดูกาล ดังต่อไปนี้
-
พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มักเกิดในช่วงฤดูหนาว เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
-
ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เนื่องจากมีการเผาพื้นที่เกษตรภายในพื้นที่และจากประเทศเพื่อนบ้าน
-
ภาคเหนือและภาคกลาง ช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศต่ำจากกรุงเทพมหานคร
-
ภาคใต้ ช่วงสิงหาคม-ตุลาคม จากการเผาพื้นที่เกษตรในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน
ฝุ่น PM 2.5 กระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?
ปกติแล้วร่างกายของเราจะมีกลไกการป้องกันฝุ่นและสิ่งสกปรก ไม่ให้รุกล้ำเข้าไปสะสมจนทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ด้วยฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กมาก จึงสามารถเล็ดลอดเข้าไปสะสมภายในอวัยวะของร่างกาย จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
-
ระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ไอ หายใจลำบาก รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดโรคภูมิแพ้ หอบหืด และลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด
-
ดวงตา ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ตา ตาแห้ง และอาจจะทำให้จอประสาทตาผิดปกติได้
-
หัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดตะกอนภายในหลอดเลือด เสี่ยงต่อโรคหัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบได้ นอกจากนี้ ยังทำให้ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกอีกด้วย
5 อันดับโรคที่เกิดจากฝุ่น ในปี พ.ศ. 2563-2566
-
โรคหอบหืด มีอาการเหนื่อยหอบแน่นหน้าอก เกิดจากการอักเสบเรื้อรังจากหลอดลม
-
โรคมะเร็งปอด เกิดจากการสะสมของฝุ่น PM2.5 และสารพิษอื่น ๆ ในระยะยาว
-
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ/อุดตัน เกิดการสะสมของฝุ่นและไขมัน ทำให้เลือดไหลไปหัวใจได้น้อยลง
-
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความเครียด ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากการสูดดมมลพิษเป็นเวลานาน
-
โรคหลอดเลือดสมอง ฝุ่นเข้าไปสะสมในหลอดเลือด จนเกิดการตีบและตัน
(ข้อมูลจาก นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย)
อยู่อย่างไรให้รอด ในยุค “ชีวิตเปื้อนฝุ่น” ?
ในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับอันตรายต่อสุขภาพ เราจะมีวิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 อย่างไรบ้าง ? ที่จะบรรเทาเบาบางผลกระทบต่อสุขภาพได้
Check list ก่อนออกจากบ้านยุคนี้ !
-
ใส่หน้ากาก N95 ทุกครั้งที่ออกจากบ้าน หรืออยู่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นขนาด 2.5 ไมครอนได้ จึงช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองที่จะเข้ามาสะสมภายในร่างกาย
-
ติดตามระดับ PM 2.5 ด้วยเครื่องวัดฝุ่นละออง และตรวจสอบค่าฝุ่นในพื้นที่ที่จะเดินทางไปจากบนเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานต่าง ๆ หากพบว่าสูงเกินมาตรฐานให้หลีกเลี่ยงการอยู่ภายนอกเป็นเวลานาน
-
พกเครื่องกรองอากาศพกพา ที่มี HEPA Filter ติดตัว ช่วยดักจับอนุภาคขนาดเล็กได้
วิธีกำจัดสารพิษที่มากับฝุ่นออกจากร่างกาย
นอกจากการป้องกันฝุ่นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีวิธีกำจัดสารพิษที่กับฝุ่นออกจากร่างกายได้แบบง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
-
รับประทานอาหารที่มีกลูตาไธโอน เพราะกลูตาไธโอนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ช่วยขับสารพิษในตับได้
-
ดื่มน้ำเปล่าอุณหภูมิห้อง 2 แก้ว หลังตื่นนอนในตอนเช้า ช่วยล้างสารพิษที่ตกค้างในร่างกายได้เป็นอย่างดี
-
นวดกดจุด ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ช่วยขับสารพิษออกจากปอด ปรับสมดุลสุขภาพปอด
-
คีเลชั่นบำบัด ช่วยล้างสารพิษโลหะหนัก พร้อมลดค่าการอักเสบในร่างกาย
เมื่อเราหนีฝุ่น PM 2.5 ในเร็ววันนี้ไม่ได้ ก็ควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย กำจัดสารพิษตกค้างอย่างถูกวิธี หรือเพิ่มความอุ่นใจให้ตัวเองด้วยประกันสุขภาพ จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในเครือข่ายกว่า 500 แห่ง ทั่วประเทศไทย คุ้มครองทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเด็ก ผู้สูงอายุ หรือวัยทำงาน สามารถเลือกประกันที่เหมาะกับความต้องการของคุณได้เลย
ข้อมูลอ้างอิง