เลือกภาษา
close
เด็กกำลังโดนยุงลายซึ่งเป็นพาหะ ไข้เลือดออก
เคล็ด (ไม่) ลับ น่ารู้ - พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต

รู้ทัน​​ไข้เลือดออก​ ! ​เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร ?

​​เมื่อมีไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง หลายคนมักคิดว่าเป็นเพียงอาการของไข้หวัดทั่วไป แต่รู้หรือไม่? ว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรค​​ไข้เลือดออก​​ ที่หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายได้​

“​ไข้เลือดออก​”​ เป็นโรคที่มียุงลาย​​เป็นพาหะนำ​​โรค​​ ท​​ี่​​สามารถคร่าชีวิตคนได้ โดยในปี 2566 มีผู้ป่วยโรค​​ไข้เลือดออก​​ในไทยมากถึง 156,097 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 175 ราย ซึ่งสูงกว่าปี 2565 หลายเท่า ​​และถึงแม้ตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในไทยตลอดปี 2567 จะมีจำนวนลดน้อยลงเป็น 104,397 ราย แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่น่าเป็นห่วง ​​การป้องกันโรค​​ไข้เลือดออก​​จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ บทความนี้จะมาบอกถึงอันตรายของโรค​​ไข้เลือดออก​​ พร้อม​​แนะนำ​​วิธี​​สังเกต​​อาการ​​และ​​ป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากโรคนี้​​กัน !​

 

เข้าใจต้นตอของโรคที่มาพร้อมยุงลาย ! ​​โรค​​ไข้เลือดออก​​คืออะไร ​?

​​ไข้เลือดออก ​(Dengue Fever​) เป็น​​โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี​​ที่​​มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้บ่อยในประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น ​​โดยเฉพาะ​​ช่วง​​ฤดูฝน​​ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีน้ำท่วมขังในภาชนะต่าง ๆ ​​ซึ่งเอื้อต่อการ​​แพร่พันธุ์​​ของยุงลาย และ​​เมื่อยุงลาย​​ที่มีเชื้อ​​กัดคน เชื้อไวรัสก็​​จะ​​แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว​

​​ไวรัสเดงกี มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ​​ได้แก่​​ เดงกี 1, เดงกี 2, เดงกี 3 และ เดงกี 4 ซึ่ง​​มนุษย์​​สามารถติดไวรัสเดงกีได้​​ทุก​​สายพันธุ์ โดยหลังจากที่ยุงลายดูดเลือดจากผู้ป่วยในระยะไข้ ​​เชื้อ​​จะฟักตัวอยู่ประมาณ 8 - 12 วัน ​​ก่อนแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นผ่านการ​​กัด ทำให้​​การระบาดของ​​ไข้เลือดออก​​สามารถ​​เกิดขึ้น​​ได้​​อย่างต่อเนื่อง​

กลุ่มเสี่ยงของโรคไข้เลือดออก

​​โรค​​ไข้เลือดออก​​สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สำหรับกลุ่มคนต่อไปนี้ มักมีอาการรุนแรง จึงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด​

  • ​​เด็กทารก​

  • ผู้สูงอายุ​

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์​

  • ​​ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน​

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยหัวใจพิการแต่กำเนิด​

  • ​​ผู้ที่มีความผิดปกติของเลือด อย่างโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย​

  • ผู้ที่กำลังรับประทานยาสเตียรอยด์ หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์​

 

เช็กสัญญาณเสี่ยง ​​อันตรายและอาการของโรค​​ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก​​เป็นหนึ่งในโรคที่มีความเสี่ยงเสียชีวิต ​​หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที​ ​อีกทั้งยัง​​สามารถระบาดได้ทุกที่ของประเทศ ​​การ​​รักษา​​จะเป็นไป​​ตามอาการ ไม่มียาที่ใช้ในการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง โดยปกติแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อในครั้งแรกมักจะไม่มีอาการรุนแรง แต่หากเป็นการติดเชื้อครั้งที่ 2 มักเสี่ยงต่ออาการรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้

อาการไข้เลือดออกแต่ละระยะ 

อาการไข้เลือดออกในระยะแรก 

อาการระยะวิกฤต 

อาการระยะฟื้นตัว 

  • ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว 

  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร 

  • อาจมีจุดเลือดออกตามตัว หรือมีอุจจาระดำ 

  • เสี่ยงภาวะช็อก ความดันต่ำ ตัวเย็น 

  • อาการเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด 

  • ต้องเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด 

  • อาการดีขึ้น จุดเลือดออกเริ่มจางลง 

  • ร่างกายกลับมาแข็งแรง 

 

สังเกตให้ดี ! ตุ่มไข้เลือดออก มีวิธีดูอย่างไร ?

ป่วยโรคไข้เลือดออกมักมีผื่น หรือจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองระยะดังนี้ 

  • ตุ่มระยะแรก ผิวหนังแดงทั่วตัว โดยเฉพาะหน้า คอ หน้าอก ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนัง 

  • ตุ่มระยะหลัง (ช่วงไข้ลดลง) ผื่นลักษณะเป็นปื้นแดง จุดเลือดออกเล็ก ๆ หรือบางรายอาจมีตุ่มนูน ซึ่งบ่งชี้ว่าเกล็ดเลือดในร่างกายลดลง 

การตรวจโรคไข้เลือดออก

หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเป็นโรคไข้เลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์อาจทำการตรวจด้วยวิธีเหล่านี้  

  • การตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการตรวจสอบอาการทั่วไป เช่น ไข้สูง ผื่น และอาการเลือดออก 

  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับเกล็ดเลือดและฮีมาโตคริต ซึ่งมักลดลงในผู้ป่วยไข้เลือดออก 

  • การทดสอบอื่น ๆ เช่น การตรวจหาแอนติเจน NS1 หรือแอนติบอดีต่อไวรัสเดงกี เพื่อยืนยันการติดเชื้อ 

 

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

  • ห้ามใช้ยาลดไข้แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร ให้ใช้ยาพาราเซตามอล หรือตามที่แพทย์จ่ายเท่านั้น

  • อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยมีไข้สูงติดต่อกันนาน เพราะอาจจะทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้ แนะนำให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ

  • ไม่ควรกินอาหารที่มีสีดำหรือแดง เพื่อจะได้สังเกตว่ามีเลือดออกในอวัยวะภายในหรือไม่ ผ่านสีของอุจจาระ

  • ไม่ปล่อยผู้ป่วยเอาไว้ลำพัง เพราะหากมีอาการรุนแรง และไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  • ดูแลด้วยความนุ่มนวล เพราะอาจจะทำให้เกิดจุดเลือดได้ง่าย

 

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ​​ไข้เลือดออก

อย่าปล่อยให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลต่อสุขภาพ ! แม้ไข้เลือดออกจะเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ แต่บ่อยครั้งที่พฤติกรรมของเรามีส่วนทำให้เชื้อเกิดการแพร่กระจายในวงกว้าง โดยพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดโรคไข้เลือดออก มีดังต่อไปนี้ 

  • ปล่อยให้น้ำขังบริเวณบ้าน เป็นแหล่งวางไข่และเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายได้มากขึ้น 

  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกาย หรือออกไปทำกิจกรรมในพื้นที่เสี่ยง โดยไม่ฉีดสเปรย์ หรือทายาเพื่อป้องกันยุงกัด

  • อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งอาจจะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้มากยิ่งขึ้น 

  • ไม่กำจัดขยะและวัสดุที่สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 

  • ไม่ใช้มุ้งลวด หรือมุ้ง ขณะพักผ่อนในช่วงเวลาที่ยุงลายออกหากิน 

หากในพื้นที่มีการระบาดของไข้เลือดออก อย่ารอช้า รีบกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ฉีดพ่นสารเคมี หรือใช้มาตรการป้องกันยุงกัด เพื่อลดความเสี่ยงและหยุดการแพร่กระจายของโรค

 

 

วิธีป้องกันโรค​​ไข้เลือดออก​​ด้วยวิธี 5ป.​ + ​1ข.

​​ร่วม​​ป้องกันโรค​​ไข้เลือดออก​​ไม่ให้ระบาด ด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นต้นตอของพาหะนำโรคไม่ให้แพร่กระจาย โดยมีวิธี​​ตามหลัก​​ 5ป.​ + ​1ข. ​​ดังนี้

ป.1 - ปิด

​​ปิดภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายสามารถวางไข่ได้ ไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำ โอ่ง หรือภาชนะอื่น​

ป.2 - เปลี่ยน

​​เปลี่ยนน้ำในแจกัน กระถางต้นไม้ หรือส่วนอื่นของบ้าน อย่างน้อย 7 วันครั้ง เพื่อลดโอกาสของลูกน้ำที่จะเกิดเป็นยุงลาย ​

ป.3 - ปล่อย

​​ปล่อยปลาลงไปในอ่างน้ำ กระถางไม้น้ำ บ่อน้ำ หรือแหล่งน้ำอื่น เพื่อให้ปลาช่วยกินลูกน้ำที่จะโตขึ้นมาเป็นยุงลาย​

ป.4 - ปรับ

​​ปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้โล่ง ไม่มีมุมอับที่จะทำให้ยุงลายมาเกาะ หรืออยู่อาศัย และแพร่กระจายเชื้อโรคได้​

ป.5 - ปฏิบัติ

​​ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนในครอบครัว​

ข. - ขัด

​​ขัดภาชนะใส่น้ำ เพื่อกำจัดไข่ยุงลายที่อาจจะเกาะอยู่บนภาชนะ หรือตะไคร่น้ำ​

 

วิธีรักษาไข้เลือดออกให้หายเร็ว สู่การฟื้นฟูร่างกายอย่างปลอดภัย

แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีรักษาไข้เลือดออกโดยตรง การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยมีแนวทางในการสังเกตโรคไข้เลือดออกด้วยการดูแลอาการและรักษาที่บ้าน ดังนี้ 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว 

  • ดื่มน้ำให้มาก เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ 

  • หลีกเลี่ยงยาแอสไพรินและไอบูโพรเฟน เนื่องจากอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น 

  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน 

  • ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงไข้ลดลง ซึ่งเป็นระยะที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน 

 

ฉีดวัคซีนโรค​​ไข้เลือดออก​​ ป้องกันได้ก่อนเกิดโรค

​​การฉีดวัคซีนโรค​​ไข้เลือดออก​​ เป็นการป้องกันโรค​​ไข้เลือดออก​​ และอาการของโรคที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี ถึง 60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งคนที่เคยเป็นและไม่เคยเป็น​​ไข้เลือดออก​​มาก่อน ​​โดย​​ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 3 เดือน​

 

​​แผนประกันสุขภาพ​​จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต ทางเลือกคุ้มครองเมื่อเป็นโรค​​ไข้เลือดออก

นอกจากการทำตามหลักป้องกันไข้เลือดออก และการฉีดวัคซีนแล้ว การเลือกซื้อประกันสุขภาพ จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิตเอาไว้ ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้คุณได้เมื่อเกิดติดโรคไข้เลือดออกขึ้นมา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย* ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน  

*ประกันสุขภาพ ไม่ต้องสำรองจ่าย ตามเงื่อนไขที่กำหนดกับโรงพยาบาลคู่สัญญา 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

หาก​​ไข้เลือดออก​​ยังไม่แสดงอาการ ให้น้ำเกลือก่อนจะหายไหม ?​​ 

การให้น้ำเกลือเป็นเพียงแนวทางช่วยบรรเทาอาการขาดน้ำ แต่ไม่สามารถรักษาไข้เลือดออกให้หายขาดได้ หากมีอาการน่าสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและติดตามระดับเกล็ดเลือดอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา การเลือกซื้อประกันสุขภาพ จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในกรณีที่เป็นโรคไข้เลือดออกขึ้นมา โดยไม่ต้องสำรองจ่าย*

ถ้าเคยเป็น​​ไข้เลือดออก​​แล้วจะเป็นซ้ำอีกไหม ?​​ 

โรคไข้เลือดออกสามารถเกิดซ้ำได้ เนื่องจากไวรัสเดงกีมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ (DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4) แม้ว่าจะเคยติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์หนึ่งแล้ว ก็ยังสามารถติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นได้อีก การเป็นไข้เลือดออกครั้งที่สองอาจมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรก จึงควรป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงยุงลาย ทั้งการไม่ไปอยู่ในสถานที่ที่มียุงชุกชุม และหมั่นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงเลือกซื้อประกันสุขภาพ จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิตเอาไว้ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายหากเป็นโรคไข้เลือดออกขึ้นมาจริง ๆ 

ผื่นตุ่มไข้เลือดออกกี่วันถึงจะหายคันและหายไป ?​​ 

ผื่น หรือตุ่มไข้เลือดออก มักปรากฏขึ้นในระยะฟื้นตัวของโรค ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน ถึงจะจางหาย อีกทั้งอาการคันอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงที่ผื่นเริ่มหายไป ซึ่งโดยทั่วไป อาการคันจะลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเกาเพื่อลดโอกาสเกิดรอยดำ หรือการติดเชื้อเพิ่มเติม หากมีอาการคันมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาบรรเทาอาการ ซึ่งประกันสุขภาพ จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต จะช่วยลดความกังวลใจ เมื่อเกิดอาการแทรกซ้อน หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

รู้ได้อย่างไรว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ?​​ 

อาการของไข้เลือดออกจะดีขึ้นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะฟื้นตัว โดยสามารถสังเกตอาการที่ดีขึ้นได้ดังนี้ 

  • ไข้ลดลง และไม่มีไข้สูงอีก 

  • อาการคลื่นไส้ อาเจียนลดลง 

  • ความอยากอาหารกลับมา 

  • ระดับเกล็ดเลือดเริ่มเพิ่มขึ้นและกลับเข้าสู่ภาวะปกติ 

  • ผู้ป่วยรู้สึกมีแรงมากขึ้น ไม่อ่อนเพลีย 

แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว แต่ยังควรติดตามสุขภาพต่อเนื่อง และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนักในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังฟื้นตัว เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมเพิ่มความอุ่นใจ ด้วยการทำประกันสุขภาพ จากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิต เพื่อช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทำให้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างสบายใจจนหายดี

 

*ประกันสุขภาพ ไม่ต้องสำรองจ่าย ตามเงื่อนไขที่กำหนดกับโรงพยาบาลคู่สัญญา 

 

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. ไข้เลือดออก มีวิธีรักษาและดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ให้ช็อก ! 

  2. โรคไข้เลือดออก ภัยร้านจากยุงลาย 

  3. โรคไข้เลือดออก 

  4. ไข้เลือดออกป้องกันได้ ด้วยมาตรการ 5ป 1ข 

  5. ยอดผู้ป่วยไข้เลือดออกปี 2566 พุ่งสูงมาก! ยอดเสียชีวิตสูงถึง 175 ราย 

  6. สถานการณ์ไข้เลือดออก ในประเทศไทย ปี 2567