เลือกภาษา
close
Breast Self Exams

วิธีตรวจเต้านมด้วยตนเอง

 

ไม่มีใครรู้เรื่องเต้านมของเราดีเท่าตัวเราเอง! ถึงแม้โรคมะเร็งเต้านมจะเป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้ แต่การหมั่นตรวจสอบด้วยตัวเองก็จะทำให้เรารู้ทันโรค และสามารถรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที [1]

ข้อมูลจาก Johns Hopkins Breast Center พบว่า 40% ของการตรวจพบมะเร็งเต้านมในผู้หญิงมาจากการที่ผู้ป่วยตรวจพบก้อนเนื้อด้วยตนเองก่อน การตรวจเต้านมด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก [2]

 

การตรวจเต้านมทำอย่างไรได้บ้าง เรามาดูรูปด้านล่างนี้กัน:

 

 

1. ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าเราควรตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือน  และควรเป็นช่วงวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนหรือ 2-3 วัน หลังจากประจำเดือนหมดจะดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่เต้านมอ่อนนุ่มและไม่คัดตึงจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากเท่าช่วงเวลาอื่น แนะนำให้ตรวจเต้านมในช่วงเวลาเดียวกันทุก ๆ เดือนจะทำให้คุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนได้ดีขึ้น [2]

2. ควรปรึกษาแพทย์ หากพบความปกติต่อไปนี้ [3]

    • รอยบุ๋มหรือรอยนูนบริเวณเต้านม

    • หัวนมเปลี่ยนทิศทาง หรือกลับด้าน (หัวนมบุ๋มเข้าไปข้างในแทนที่จะยื่นออกมา)

    • มีรอยแดง เจ็บ มีผื่นขึ้น หรือเกิดอาการบวมผิดปกติที่เต้านม

    • มีของเหลวไหลออกมาจากหัวนม

 

3. การตรวจสอบเต้านมจะทำได้ง่ายที่สุดขณะอาบน้ำของ เนื่องจากผิวเราจะมีความลื่น ทำให้ตรวจได้ง่าย โดยใช้นิ้วคลำไปในทิศทางต่าง ๆ (เช่น วนเป็นวงกลม คลำเป็นแนวขึ้นลง) เพื่อดูความผิดปกติของเต้านม อย่าลืมตรวจก้อนบริเวณรักแร้ดูด้วยล่ะ

4. คุณยังสามารถตรวจเต้านมในท่านอนราบ จะทำให้สามารถสังเกตเต้านมในตำแหน่งที่แตกต่างกันได้ [2]

 

อย่างไรก็ตาม การนวดตรวจสอบเต้านมด้วยตนเองไม่สามารถทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทางการแพทย์ได้ เช่น การทำแมมโมแกรม โดยการทำแมมโมแกรมจะสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ก่อนที่คุณจะคลำเจอก้อนเนื้อที่หน้าอก แต่การตรวจสอบเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำก็จะทำให้คุณทราบว่าเต้านมที่ปกติมีลักษณะอย่างไร [1]

ถ้าคุณคลำเจอก้อนผิดปกติที่เต้านมก็ไม่ต้องตกใจไปเป็นปกติที่ผู้หญิงสามารถพบก้อนที่บริเวณเต้านมได้ ซึ่งส่วนมากไม่ได้เป็นมะเร็งหรือก้อนเนื้อร้ายด้วยซ้ำ แต่มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน [3] แต่อย่างไรก็ตาม ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าเสมอ! เราควรรู้จักร่างกายของตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงโรคร้ายใด ๆ ในอนาคต

 

References:

1. Breast Self-Exam [Internet]. National Breast Cancer Foundation, Inc. 2019 [cited 18 June 2020]. Available from: https://www.nationalbreastcancer.org/breast-self-exam
2. Johns Hopkins Breast Center: Breast Self-Exams [Internet]. Johns Hopkins Medicine. [cited 18 June 2020]. Available from: https://www.hopkinsmedicine.org/breast_center/treatments_services/breast_cancer_screening/breast_self_exam.html
3. Boraas M, Gupta S. Breast Self-Exam [Internet]. Breastcancer.org. 2019 [cited 18 June 2020]. Available from: https://www.breastcancer.org/symptoms/testing/types/self_exam

เริ่มต้นมีสุขภาพที่ดีได้แล้ววันนี้ด้วยแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential

ดาวน์โหลดเลย

 QR-code

 appstore  googleplay

Pulse by Prudential รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 11.0 ขึ้นไป | Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปเท่านั้น