เลือกภาษา
close
จะดื่มอะไรเพื่อดับกระหายแทนน้ำเปล่าได้บ้าง?
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

จะดื่มอะไรเพื่อดับกระหายแทนน้ำเปล่าได้บ้าง?

 

เรื่องนี้อาจไม่ใช่บทความวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบ แต่คุณคงเคยได้ยินข้อมูลที่หลากหลายเกี่ยวกับ “การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว จะช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมได้อย่างเต็มที่!”

คุณอาจเผลอลืมที่จะดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในบางวัน ซึ่งการอยู่ในภาวะขาดน้ำจะส่งผลเสียมากมายต่อสุขภาพ เช่น เมื่อคุณกระหายน้ำ ความหิวก็จะตามมาด้วยเช่นกัน และมักลงเอยด้วยการหาขนมขบเคี้ยวหรืออาหารมากินทุกที! ซึ่งอาการเหล่านี้บ่งบอกได้ว่าร่างกายของคุณกำลังขาดน้ำอยู่นั่นเอง 

หากคุณกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น ก็ควรจะเริ่มจาก ลองปรับพฤติกรรมการกิน ด้วยการลดจำนวนอาหารหรือขนมให้น้อยลงและเพิ่มเอนเนอร์จี้กับร่างกายให้มากขึ้น พร้อมทั้งดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งคุณควรฝึกทำสิ่งเหล่านี้ให้ติดเป็นนิสัย

การที่คุณดื่มเครื่องดื่มที่หลากหลายระหว่างวันนั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้รับน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจากเครื่องดื่มทุกชนิดเสมอไป วันนี้เราจึงอยากแนะนำเครื่องดื่มยอดฮิตที่มีประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อช่วยดับกระหายในเวลาที่คุณหิวน้ำ พร้อมบอกเล่าถึงผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นดังต่อไปนี้

 

กาแฟ & ชา    

กาแฟและชาถือเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยการดื่มกาแฟหรือชาเพียงถ้วยเดียว (เช่น ดื่มวันละ 2 ถ้วยต่อวัน) จะทำให้คุณได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายไม่เพียงพอ

การดื่มกาแฟหรือชาวันละหลายถ้วยอาจทำให้ร่างกายได้รับกาเฟอีนมากเกินไป จนทำให้คุณปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เพราะฤทธิ์ของกาเฟอีนจะกระตุ้นการผลิตยูรีนให้มากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง แถมยังทำให้คุณน้ำหนักลดลงจากสูญเสียน้ำอีกด้วย ฉะนั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนแทนน้ำเปล่ามากเกินไป อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำในร่างกายโดยไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตาม มีเพียงชาบางประเภทเท่านั้นที่มีกาเฟอีน ดังนั้น คอชาสมุนไพรตัวยงทั้งหลายก็หมดห่วงเรื่องกาเฟอีนได้เลย!

เคล็ดลับการเติมน้ำให้ร่างกาย: การดื่มกาแฟในหรือการดื่มชาที่มีกาเฟอีนในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเติมน้ำในร่างกายของคุณได้แน่นอน แต่การดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้มากกว่า 5 ถ้วยหรือ 500 มิลลิลิตรต่อวันอาจเสี่ยงต่อภาวะการขาดน้ำในร่างกายได้

 

โซดา & เครื่องดื่มรสหวาน

การดื่มน้ำหวานๆ อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย

แต่ในทางกลับกัน เครื่องดื่มประเภทนี้ก็สามารถเติมน้ำให้กับร่างกายได้ดีไม่แพ้กัน แต่ความหวานของเครื่องดื่มเหล่านี้ อาจทำให้คุณกระหายน้ำมากขึ้น เพราะมีปริมาณน้ำตาลปนอยู่มากนั่นเอง เมื่อน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดก็จะทำปฏิกิริยากับเลือดของคุณ และส่งผลให้น้ำในเซลล์ของร่างกายลดน้อยลงจนระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุลกัน

นอกจากนี้แล้ว สมองของคุณอาจถูกกระตุ้นด้วยน้ำตาล จนทำให้คุณอยากดื่มน้ำหวานๆ เพิ่มอีกหลายแก้ว แม้ว่าคุณจะไม่หิวน้ำสักนิดเลยก็ตาม!

 

น้ำผลไม้ 

เชื่อหรือไม่ว่า การดื่มน้ำผลไม้ต่างจากการกินผลไม้แบบสดๆ อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากน้ำผลไม้มากมายที่วางขายทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ตนั้นผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้ว แถมยังมีปริมาณน้ำตาลที่สูงมากกว่าปกติอีกด้วย ซึ่งบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่านี่เป็นความหวานจากธรรมชาติ แต่อันที่จริงแล้วเป็นความหวานที่มาจากการปรุงแต่งให้หวานมากขึ้นนั่นเอง

คุณสามารถคิดค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในน้ำผลไม้แปรรูปได้ง่ายๆ เช่น น้ำผลไม้ 236.5 มล. กล่องหนึ่ง อาจมีน้ำตาลเฉลี่ยประมาณ 30 ก. ซึ่งปริมาณนี้ก็พอๆ กันกับน้ำตาลในกระป๋องโซดา ซึ่งเทียบได้กับการใส่น้ำตาล 7 ช้อนชา ลงในถ้วยชา/ กาแฟ! แต่ที่แย่กว่านั้น พบว่าสินค้าเกี่ยวกับน้ำผลไม้ส่วนใหญ่ไม่มีไฟเบอร์และแร่ธาตุผสมอยู่เลย

เคล็ดลับการเติมน้ำให้ร่างกาย: ผลไม้และผักสดหลายชนิดมีน้ำเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่สูงและยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถช่วยเติมน้ำให้ร่างกายของคุณได้ทุกวัน เช่น แตงโม มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90% และแตงกวา มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 95%! หากการหาน้ำเปล่าไว้ดื่มเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ก็หันมาลองกินผลไม้และผักสดๆ ดูสิ เพราะนี่อาจเป็นตัวเลือกสุดเฮลตี้ได้เช่นกัน  

 

สุดท้ายนี้ ขอฝากไว้ให้คิดว่า การเติมน้ำให้ร่างกายอยู่เสมอ คือ สิ่งจำเป็นต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย และคงง่ายมากหากจะมองหาเครื่องดื่มสักแก้วที่จะช่วยดับกระหายให้ร่างกายคุณได้ แต่อย่าลืมว่าเครื่องดื่มทุกประเภทไม่ได้ดีต่อร่างกายของคุณเหมือนกันหมด ดังนั้น คุณจึงควรหลีกเลี่ยงน้ำหวานๆ และน้ำผลไม้แปรรูปทุกชนิดที่อาจทำให้คุณกระหายน้ำแทนที่จะช่วยดับกระหายให้คุณน่ะสิ

 

Health Aisle logo

References:

1. Valtin H. (2002). “Drink at least eight glasses of water a day.” Really? Is there scientific evidence for “8 x 8”?. American journal of physiology. Regulatory, integrative and comparative physiology, 283(5), R993–R1004. https://doi.org/10.1152/ajpregu.00365.2002
2. Maughan, R. J., & Griffin, J. (2003). Caffeine ingestion and fluid balance: a review. Journal of human nutrition and dietetics : the official journal of the British Dietetic Association, 16(6), 411–420. https://doi.org/10.1046/j.1365-277x.2003.00477.x
3. Villalobos Cruz, T., Perea Sánchez, J., & Ortega Anta, R. (2015). Fruits and vegetables as important contributors to an adequate hydration status. Nutricion hospitalaria, 32 Suppl 2, 10347. https://doi.org/10.3305/nh.2015.32.sup2.10347

เริ่มต้นมีสุขภาพที่ดีได้แล้ววันนี้ด้วยแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential

ดาวน์โหลดเลย

 QR-code

 appstore  googleplay

Pulse by Prudential รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 11.0 ขึ้นไป | Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปเท่านั้น