เลือกภาษา
close
วิธีรับมือกับโรคต่างๆ ที่เกิดจากความร้อน
บทความและข้อมูลด้านสุขภาพโดย Pulse

วิธีรับมือกับโรคต่างๆ ที่เกิดจากความร้อน

 

เขียนโดย The Health Aisle Team
รับรองทางการแพทย์โดย Dr. Aliya Kassamali, PharmD

 

 

อุณหภูมิที่สูงขึ้นและคลื่นความร้อนที่มากขึ้นอาจทำให้ร่างกายเราเกิดความเครียด และอาจทำให้เป็นโรคที่มาจากความร้อนชนิดต่างๆ

 

เป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดจากความร้อน และทราบว่าพวกมันต่างจากกันอย่างไร ความอันตรายอยู่ในระดับไหน และเราจะทำอะไรได้บ้าง หากเป็นโรคลมแดดจะต้องได้รับการรักษาโดยทันที เพราะฉะนั้นมันสำคัญมากที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับอาการของโรค

 

ลมแดด : ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ร่างกายไม่สามารถควบคุม
อุณหภูมิในร่างกายเองได้

อาการของโรคลมแดด

เราควรจะทำอะไร

  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูงถึง 39.4 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า

  • คลื่นไส้

  • วิงเวียนศีรษะ

  • หมดสติ

  • สับสน

  • ปวดหัว

  • การเต้นของหัวใจที่เร็วและรุนแรง

  • โทรเรียกรถพยาบาลโดยทันที

  • ห้ามดื่มน้ำ

  • ย้ายไปที่ร่มหรือพื้นที่ที่มีอากาศเย็น

  • พยายามลดอุณหภูมิของร่างกายลงโดยการอาบน้ำเย็น

 

เพลียความร้อน : ภาวะเมื่อร่างกายขาดน้ำและเกลือมากเกินไป
ส่วนมากเกิดจากเหงื่อ

อาการของโรคเพลียความร้อน

เราควรจะทำอะไร

  • เหงื่อออกมากขึ้น

  • คลื่นไส้หรือเป็นลม

  • วิงเวียนศีรษะ

  • ปวดหัว

  • อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วแต่อ่อนแรง

  • ร่างกายอ่อนเพลีย

  • ผิวซีด และเย็นกว่าปกติ

  • ย้ายไปที่ร่มหรือพื้นที่ที่มีอากาศเย็น

  • พยายามลดอุณหภูมิของร่างกายลงโดยการอาบน้ำเย็น

  • ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่

  • ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออก

  • ควรเรียกความช่วยเหลือหากคนไข้มีอาการอาเจียนไม่หยุด
    อาการต่างๆ แย่ลง หรือมีอาการต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมง

 

ตะคริวจากความร้อน : การกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บ
เกิดขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆในอากาศร้อน
ในเวลาที่ร่างกายไม่ได้รับน้ำหรืออิเล็กโทรไลต์
(แร่ธาตุที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้) ที่มากพอ

อาการของการเกิดตะคริวจากความร้อน

เราควรจะทำอะไร

  • เหงื่อออกเพิ่มขึ้น

  • กระตุกเกร็งหรือเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อ

  • เป็นไข้

  • ย้ายไปที่ร่มหรือพื้นที่ที่มีอากาศเย็น

  • ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่

  • รอให้อาการกระตุกเกร็งหายก่อนที่จะทำกิจกรรมต่อไป

  • ยืดและนวดบริเวณที่กระตุกเกร็งอย่างช้าๆ

  • ควรเรียกความช่วยเหลือหากคนไข้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจ
    มีอาการกระตุกเกร็งเกิน 1 ชั่วโมง หรือมีอาการแย่ลง

 

ผดร้อน : ผิวหนังระคายเคืองหรือตุ่มเล็กๆตามผิวหนังที่อาจทำให้เกิด
อาการคัน 
ส่วนมากเกิดช่วงที่อากาศร้อนและชื้น

อาการของการเป็นผดร้อน

เราควรจะทำอะไร

  • มีตุ่มสีแดงเล็กๆขึ้นตามผิวหนัง คล้ายสิว

  • ย้ายไปที่ร่มหรือพื้นที่ที่มีอากาศเย็น

  • พยายามให้บริเวณผื่นแห้งตลอดเวลา

  • ใส่เสื้อผ้าที่ไม่แนบเนื้อเพื่อให้ไม่เกิดการเสียดสีระหว่างผิวหนัง

ควรเรียกความช่วยเหลือหากผื่นของคนไข้ไม่หายไป
ภายในเวลา 3-4 วัน มีอาการแย่ลง บวม และมีน้ำเหลือง

 

หากเกิดอาการเครียดความร้อนแล้วไม่ได้รับการรักษาโดยทันทีอาจทำให้นำไปสู่การเป็นลมแดดได้ ทุกๆคนมีโอกาสที่จะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อนได้ แต่คนเหล่านี้อาจจะมีความ sensitive กว่าหน่อย เราควรเฝ้าระวังผู้คนเหล่านี้ ได้แก่

  • ผู้อาวุโสอายุมากกว่า 65 ปีและเด็กเล็ก เพราะร่างกายของพวกเขาจะปรับอุณหภูมิได้น้อยกว่าปกติ

  • กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาที่อาจทำให้ไม่ได้ดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและความดันสูง โปรดตรวจสอบกับแพทย์หรือผู้ให้บริการทางสุขภาพของคุณหากไม่แน่ใจ

  • คนที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ากำหนด การที่มีน้ำหนักตัวเกินกว่ากำหนดอาจทำให้ร่างกายกักเก็บความร้อนได้มากกว่าปกติและทำให้เย็นลงได้ยากกว่าเดิม

 

 

โปรดระวังตัวหากต้องออกไปใช้ชีวิตในวันที่อุณหภูมิและความชื้นสูงกว่าปกติ นอกจากนี้อุณหภูมิที่เปลี่ยนกระทันหันจากเย็นไปร้อนก็อาจทำให้ร่างกายของคุณปรับเปลี่ยนตามได้ยาก เราควรป้องกันตัวเองโดยการทำให้ตัวเองพร้อมอยู่เสมอ!

 

References:

  1. National Institute for Occupational Safety and Health. (2018, June 6). Heat Stress-Related Illness | NIOSH | CDC. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/niosh/topics/heatstress/heatrelillness.html

  2. National Center for Environmental Health (NCEH), Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR). (2017, September 1). Warning Signs and Symptoms of Heat-Related Illness | Natural Disasters and Severe Weather | CDC. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/disasters/extremeheat/warning.html

  3. O’Connor F.G et al. (2021). Exertional heat illness in adolescents and adults: Management and prevention. UpToDate.

  4. Miller, J. L. (2021). Miliaria. UpToDate.

เริ่มต้นมีสุขภาพที่ดีได้แล้ววันนี้ด้วยแอปพลิเคชัน Pulse by Prudential

ดาวน์โหลดเลย

 QR-code

 appstore  googleplay

Pulse by Prudential รองรับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ iOS เวอร์ชัน 11.0 ขึ้นไป | Android เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปเท่านั้น