การจัดการกับโรคแพนิกในที่ทำงาน
หากคุณเกิดความวิตกกังวลและความกลัวอย่างฉับพลันครั้งละเป็นเวลานานหลายนาที คุณอาจกำลังเผชิญกับโรคแพนิก ด้านล่างต่อไปนี้คือวิธีที่อาจจะช่วยให้คุณจัดการมันได้ดีขึ้น
โรคแพนิกสามารถเกิดได้แบบคาดการณ์ไม่ได้และยังเกิดได้บ่อยๆ การโจมตีกะทันหันเหล่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นคลื่นของความกลัว ความตื่นตระหนก ความรู้สึกไม่สบาย หรืออาการสับสน สามารถเกิดเองได้โดยไม่มีสาเหตุ หรือภัยอันตรายคุกคามทางกายภาพที่ชัดเจน [1]
สัญญาณและอาการของโรคแพนิก [1]
ตามชื่อของโรค คือโรคแพนิกเป็นอาการแพนิกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ผู้คนที่เป็นมักรู้สึกเหมือนจิตใจและร่างกายถูกปิดล้อม ทำให้ยากต่อชีวิตประจำวันหรือแม้แต่หายใจได้ตามปกติ
หากคุณไม่แน่ใจว่าตนเองมีอาการแพนิคหรือไม่ ต่อไปนี้คือสัญญาณและอาการของโรค:
-
หายใจไม่ทัน
-
ร้องไห้
-
ตัวสั่น
-
ความรู้สึกเสียวซ่า
-
หัวใจเต้นแรงโดยกระทันหัน
อาการแพนิกสามารถเกิดได้โดยไม่มีสัญญาณบ่งบอก จึงไม่ง่ายที่จะคาดการณ์การเกิดของมันได้ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถดูสัญญาณเหล่านี้ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการโจมตีที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
สัญญาณและอาการด้านจิตของโรคแพนิก:
-
ความกลัวและความวิตกกังวลอย่างรุนแรง
-
รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือมีความรู้สึกถึงความหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้น
-
กลัวสถานที่ที่ตัวเองเคยเกิดการแพนิกมาก่อน
การจัดการกับโรคแพนิกในที่ทำงาน
การจัดการกับโรคแพนิกในที่ส่วนตัวอย่างที่บ้านก็ยากพอแล้ว แต่การจัดการกับมันในที่ทำงานนั้นก็เป็นเรื่องที่จะทำให้เครียดมากขึ้นไปอีก เพราะคุณจะมีความรู้สึกกลัว โดดเดี่ยว และอายเพิ่มขึ้นมาด้วย
ถ้าคุณกำลังต่อสู้กับการจัดการโรคนี้ในที่ทำงาน เคล็ดลับต่อไปนี้จะช่วยคุณได้:
-
หาพื้นที่ส่วนตัวเพื่อลดสิ่งรบกวน [2]
ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจ มันอาจทำให้ความรู้สึกตื่นตระหนก อาย หรือวิตกกังวลเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นเพื่อที่จะทำให้ตัวเองสงบและสบายใจขึ้น คุณควรหาพื้นที่ส่วนตัวเงียบๆ เพื่อให้คุณมีเวลาส่วนตัว
อาจจะเป็นบริเวณห้องครัวของบริษัท ห้องออฟฟิศส่วนตัวของคุณ มุมเงียบๆ ในออฟฟิศ หรือแม้แต่ในห้องน้ำ ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายใจในพื้นที่แคบๆ ก็ลองออกไปนอกออฟฟิศเพื่อสูดอากาศที่ปลอดโปร่งภายนอกที่โล่งๆ ดู
-
อย่ามองข้ามอาการแพนิกของคุณ [2]
เวลาเกิดอาการแพนิกในที่ทำงาน บางคนชอบไม่สนใจและหวังว่ามันจะหายไปเอง แต่จริงๆ แล้วการไม่สนใจมันจะทำให้อาการของคุณแย่ลง และรบกวนการทำงานได้ เนื่องจากคุณจะต้องพยายามทำให้จิตใจไม่ว่างระหว่างเกิดอาการแพนิก
แทนที่จะละเลยมัน พยายามยอมรับว่าตัวเองกำลังเกิดอาการแพนิก และให้เวลาตัวเองเพื่อให้มันค่อยๆ ผ่านไปได้
-
อย่าฝืนอาการแพนิก [2]
การเกิดอาการแพนิกนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย และก็เป็นปฏิกิริยาธรรมชาติของคนเราที่จะอยากฝืนและหยุดความรู้สึกแย่ๆ แต่การพยายามฝืนอาการแพนิกอาจทำให้มันรุนแรงขึ้น
อาจจะยาก แต่คุณต้องพยายามยอมรับความรู้สึกนั้น แล้วหายใจเข้าออกช้าๆ ให้ตัวเองใจเย็นขึ้น คิดเอาไว้ว่ายังไงมันก็จะต้องผ่านไป
-
รู้ทันข่าวสารเสมอ [1]
ตามข่าวที่อัพเดทล่าสุดเกี่ยวกับโรคแพนิก สัญญาณของโรค การรักษา และการวิจัยต่างๆ จะได้มีข้อมูลพร้อมเสมอสำหรับตัวคุณและคนที่คุณรัก
การที่คุณมีข้อมูลที่แน่นจะทำให้คุณสบายใจและมั่นใจมากขึ้นในขณะที่ต้องรับมือกับโรคแพนิกของคุณหรือคนอื่น
-
คุยกับใครซักคนที่คุณไว้ใจ [1]
เวลาที่รู้สึกสับสนหรือโดดเดี่ยว ลองโทรหาใครซักคนที่คุณไว้ใจ คนที่พร้อมจะเข้าใจและให้ความสบายใจแก่คุณได้ แม้พวกเขาอาจไม่ได้ช่วยให้อาการแพนิกของคุณหายไปทันที แต่บางทีแค่ได้ยินเสียง หรือแค่รู้ว่าพวกเขาอยู่ด้วยและพร้อมที่จะช่วยก็จะทำให้คุณรู้สึกสงบขึ้นแล้ว
ถ้าคุณกำลังรับมือกับโรคแพนิกขั้นรุนแรง ลองปรึกษากับผู้ดูแลทางด้านสุขภาพของคุณดู พวกเขาสามารถแนะนำการรักษาที่มีประสิทธิภาพให้คุณได้ เช่น จิตบำบัด การใช้ยา หรือการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต [1]
REFERENCES
-
Managing Panic Attacks at Work. Mental Health America, N.D. Cited on 27 Feb 2022. Available from: https://www.mha-em.org/im-looking-for/mental-health-knowledge-base/concerns/128-managing-panic-attacks-at-work
-
Panic Disorder: When Fear Overwhelms. National Institute of Mental Health, 2022. Cited on 27 Feb 2022. Available from: https://www.nimh.nih.gov/health/publications/panic-disorder-when-fear-overwhelms