วางแผนเกษียณฉบับคนโสด
เมื่อค่านิยมของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไป การเรียนจบ ทำงาน แต่งงาน มีลูก ไม่ใช่สูตรสำเร็จของการใช้ชีวิตอีกต่อไป คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในอาชีพการงานและธุรกิจ การมีรายได้ที่มั่นคง แสวงหาประสบการณ์ชีวิต และความสุขจากการท่องเที่ยว ทานอาหารนอกบ้าน Cafe Hopping พบปะเพื่อนฝูง จับจ่ายสินค้าและบริการ ทั้งด้านความงามและความบันเทิง เพื่อเป็นรางวัลให้ตัวเอง มากกว่าการมุ่งสร้างครอบครัว
ล่าสุดมีสถิติที่น่าตกใจเกี่ยวกับคนโสด พบว่า
ประเทศไทยมีคนโสดมากถึง 13 ล้านคน ประชากรคนโสดส่วนมากอาศัยอยู่ในเมือง โดยเป็นช่วงวัย 15-25 ปี มากที่สุด ซึ่งมีมากถึงกว่า 50% จำนวน 1 ใน 3 ของคนโสด จบปริญญาตรีขึ้นไป และเป็นกลุ่มผู้หญิง
เทรนด์คนรุ่นใหม่ โสด อิสระ ไม่มีลูกกวนใจ
นักการตลาดได้นิยามศัพท์ที่เป็นเทรนด์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่สนุกกับการใช้ชีวิตเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น
-
DINKs (Double Income No Kids)
วิถีคู่รักไม่มีลูก คู่รักมีรายได้ทั้งคู่ และไม่มีลูก อาจจะแต่งงานหรือไม่แต่งงาน แต่อยู่ด้วยกัน แชร์ค่าใช้จ่ายในบ้านกับคู่ของตัวเอง จึงทำให้มีกำลังซื้อสูง
-
SINKs (Single Income No Kids)
โสด หล่อ สวย และรวยมาก หรือคนโสดที่มีรายได้ดี และหน้าที่การงานที่มั่นคง ไม่แต่งงาน และไม่มีลูก
-
PANKs (Professional Aunt No Kids)
คุณป้าสายเปย์ หญิงโสด เก่ง ที่มีรายได้ อาชีพการงานดี และเป็นเสาหลักในหมู่คนรอบข้าง
-
YOLO (You Only Live Once)
ฉันเกิดมาครั้งเดียวต้องรีบใช้ชีวิต คนที่ให้ความสำคัญกับความสุขตรงหน้า โดยยึดถือคติที่ว่า ชีวิตมีครั้งเดียว จงใช้ซะ! กล้าใช้จ่าย เพื่อซื้อประสบการณ์และสิ่งของเพื่อความสุขของตัวเอง โดยไม่กังวลถึงแผนการเงินในอนาคต
-
HENRY (High Earners but Not Rich Yet)
เสียเงินไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้ คือคนที่รายได้สูง แต่ไม่รวยสักที เมื่อหาเงินได้มาก ก็มีค่าใช้จ่ายตามไลฟ์สไตล์ที่แพงมากขึ้นตามไปด้วย
เต็มที่กับชีวิตแล้ว อย่าลืมวางแผนสำหรับอนาคต
ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของกลุ่ม DINKs SINKs PANKs YOLO และ HENRY ที่ไร้ภาระผูกพัน สนุกกับการใช้ชีวิต ใช้เงินแบบไม่คิดมากนี้ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินเก็บในวัยเกษียณ และคนกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากผลสำรวจพบว่าในปี พ.ศ. 2564 มีครอบครัวที่อาศัยอยู่คนเดียว (Single Person Households) มากถึง 414 ล้านคนทั่วโลก และเป็นคนเอเชียถึง 41.76% โดยประเทศไทยติดอยู่ในอันดับ 4 เลยทีเดียว และแน่นอนว่า เมื่อแนวโน้มคนรุ่นใหม่ไม่แต่งงาน และไม่มีลูก ประเทศไทยก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2567
การวางแผนเพื่อรับมือการใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยไร้ทายาทหรือลูกหลาน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับคนโสด ซึ่งเรามีเช็คลิสต์สำหรับการเกษียณโสดอย่างมั่นใจมาฝากกัน
5 Checklist เกษียณดีมีสุข ฉบับคนโสด
1. ตั้งเป้ามีเงินเก็บ มีเงินใช้จ่าย หลังเกษียณ
เราสามารถคำนวณเงินเก็บเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ โดยตั้งเป้ายอดเงินเก็บเป็นตัวเลข โดยคำนวณค่าใช้จ่ายต่อวัน x จำนวนวันที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ เช่น สมมติว่ามีค่าใช้จ่ายต่อวันที่ 500 บาท หากเราเกษียณตอนอายุ 55 ปี และคาดว่าจะมีอายุอยู่ถึงอายุ 80 ปี เท่ากับว่าเรามีเวลาหลังเกษียณ 25 ปี หรือ 9,125 วัน และเราต้องมีเงินเก็บอย่างน้อย 4,562,500 บาท (500 x 9,125) เพื่อใช้จ่ายในแต่ละวัน ซึ่งเราสามารถออมเงินได้ตั้งแต่วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงินในบัญชีประจำดอกเบี้ยสูง หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือการซื้อประกันสะสมทรัพย์
2. มีรายได้เลี้ยงชีพหลังเกษียณ
หากเราเกษียณแล้ว แต่ยังรู้สึกมีแรงมีพลังที่จะทำงาน เราอาจมองหาลู่ทางสร้างธุรกิจของเราเอง เพื่อเป็นแหล่งรายได้หลังเกษียณ หรือบางคนอาจลงทุนเพื่อสร้าง Passive Income เช่น ลงทุนในหุ้น หรือกองทุนแบบมีเงินปันผล, ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อปล่อยเช่า เป็นต้น
3. มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคเรื้อรัง
นอกจากการออมเงินแล้ว การมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรค ก็เป็นสิ่งที่เราควรต้องวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโลก คือ โรคในกลุ่ม NCDs (Non-communicable disease) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค อาทิ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เวทเทรนนิ่ง เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ คาร์ดิโอ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อหัวใจและปอด รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดของหวาน มัน เค็ม และพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6 - 8 ชั่วโมง รวมถึงลด ละ เลิกบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ก็จะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเรื้อรังได้แล้ว
4. มีประกันสุขภาพ หรือเงินฉุกเฉิน ยามเจ็บป่วย
เมื่อเราเข้าสู่วัยชรา เป็นเรื่องปกติที่จะมีความเสื่อมของร่างกาย และยิ่งเราใช้ชีวิตอย่างตามใจแบบไม่คิดมาก ก็ส่งผลถึงสุขภาพในบั้นปลายได้ การมีประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการที่สามารถเบิกค่ารักษาได้ จึงเป็นหลักประกันที่ดีที่จะให้ใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
5. มีสังคมที่เกื้อกูลกัน ไม่ให้รู้สึกโดดเดี่ยว
จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่ขาดการสนับสนุนจากสังคมถึงร้อยละ 50 เมื่อเราโสดและแก่ตัวลง ต้องอยู่คนเดียวไม่มีลูกหลานคอยดูแล จึงมีความเป็นไปได้สุูงที่จะเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว กังวลที่จะต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย และความตายอย่างเดียวดาย การมีสังคม ได้พบปะพูดคุย หรือทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน ญาติมิตร หรือเพื่อนบ้าน จึงทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เพราะคอยดูแลเอาใจใส่ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ทำให้ใช้ชีวิตยามเกษียณได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น
ถึงโสดก็อุ่นใจได้ ถ้าวางแผนอนาคตไว้ครอบคลุมแล้ว เลือกแบบประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ไม่ว่าจะเป็น
-
ประกันสะสมทรัพย์ PRUEasy Saver 10/4 ออมง่าย จ่ายเบี้ยฯ สั้น 4 ปี คุ้มครองยาว 10 ปี
-
ประกันชีวิตและสุขภาพแบบเหมาจ่าย PRUe-Healthcare Plus เจ็บป่วย ไม่ต้องใช้เงินเก็บ
Reference:
รู้จัก 4 นิสัยทางการเงินในแต่ละวัย ‘YOLO-DINK-PANK-WOOF’
ผลวิจัยชี้ “เพื่อนเยอะ” สุขภาพดี-มีอายุยืน
โรค NCDs สาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก พบไทยป่วยสูง 14 ล้านคน
4 ขั้นตอนวางแผนเกษียณอายุให้มั่นคง และตอบโจทย์ชีวิต
Aging Society ไทยเข้าสู่สังคม"แก่เต็มขั้น" สวนทางเด็กเกิดน้อย
“แก่อย่างเดียวดาย-ตายอย่างโดดเดี่ยว” ปัญหาหนักกว่า “สังคมผู้สูงวัย” แต่ไม่เคยถูกโฟกัส