ร้อนนี้ต้องรอด! รวมวิธีเอาตัวรอดจากฮีทสโตรกตลอดซัมเมอร์นี้
เมื่อฤดูร้อนมาถึง ผู้คนทั่วโลกอาจจะนึกถึงช่วง Summer Break ที่พร้อมเก็บเกี่ยวช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุดในรอบปี เหมาะแก่การพักผ่อน แต่กลับกันกับประเทศไทย! กรมอุตุฯ คาดการณ์ว่าฤดูร้อนในปีนี้ อุณหภูมิอาจสูงขึ้นไปถึง 50 องศา และเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต้องระวังภัยจาก “ฮีทสโตรก” โรคที่คร่าชีวิตคนไทยปีละหลายร้อยคน
การเตรียมพร้อมรับมือจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อนนี้ เราอยากแชร์เทคนิคการป้องกันฮีทสโตรก ที่สามารถนำมาใช้ในช่วงหน้าร้อนนี้ได้ง่าย ๆ
แต่ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับโรคฮีทสโตรก หรือโรค “ลมแดด” กันก่อน นั่นก็คือ ภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนจากแดดหรืออุณหภูมิสูงมากเกินไป เช่น เมื่อออกกําลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในสภาพอากาศร้อนชื้น และดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการถ่ายเทของอากาศไม่ดี ทำให้อุณหภูมิร่างกายของเราเพิ่มสูงขึ้น จนอาจเป็นลมแดดได้ โดยเฉพาะในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดด แม้ว่าจะไม่ได้ทํากิจกรรมที่ใช้แรงก็ตาม!
โดยจะมีสัญญาณเตือนจากร่างกายที่เราควรระมัดระวัง เช่น ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผิวหนังแห้งและร้อน แต่ไม่มีเหงื่อออกซักหยด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว กระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป ซึ่งหากเริ่มมีอาการเหล่านี้ ให้พยายามลดอุณหภูมิของร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากกว่าเดิม โดยทำได้ตามวิธีดังนี้
-
เข้าไปอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง
-
คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อระบายความร้อนได้เร็วขึ้น ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
-
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน ดื่มน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
ซึ่งนอกจากโรคฮีทสโตรกแล้ว ยังมีโรคยอดฮิตที่มากับหน้าร้อนอีกมากมาย เช่น โรคพิษสุนัขบ้า อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ ท้องร่วง ไวรัสตับอักเสบ A ที่แดดร้อนๆ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุกับโรคทางเดินอาหารนั่นเอง
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศในช่วงเดือน เมษายน 2567 นี้ว่าประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าว และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 43 - 44.5 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางและภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ แต่ในช่วงปลายเดือนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้
“ดัชนีความร้อน” จึงเป็นอีกหนึ่ง มาตรวัดอุณหภูมิที่ร่างกายจะรับรู้ได้ โดยนักวิจัยได้นำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น ซึ่งดัชนีความร้อนที่สูงถึง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นภาวะอันตรายที่นำมาซึ่งความเสี่ยงต่อโรคร้ายได้
-
ระดับเฝ้าระวัง แทนค่าดัชนีความร้อน 27-32 องศาเซลเซียส
ผลต่อร่างกาย: อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
-
ระดับเตือนภัย แทนค่าดัชนีความร้อน 32-41 องศาเซลเซียส
ผลต่อร่างกาย: อาการตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด
-
ระดับอันตราย แทนค่าดัชนีความร้อน 41-54 องศาเซลเซียส (เสี่ยงต่อการเกิดฮีทสโตรก)
ผลต่อร่างกาย: ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด อาจเกิดภาวะลมแดด
-
ระดับอันตรายมาก แทนค่าดัชนีความร้อนมากกว่า 54 องศาเซลเซียส
ผลต่อร่างกาย: เกิดภาวะลมแดด หรือฮีทสโตรก ตัวร้อน เวียนศีรษะ หน้ามืด ซึมลง ระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว และทำให้เสียชีวิตได้ หากสัมผัสความร้อนติดต่อกันหลายวัน
แต่เมื่อชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป เราจึงอยากแชร์ วิธีเอาตัวรอดจากภาวะฮีทสโตรกตลอดซัมเมอร์นี้
-
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
เน้นอยู่ที่มีร่มเงาในบ้าน ติดม่านกัน UV
สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดี และป้องกันแสงแดดได้ง่าย ๆ -
จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกายหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
-
อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อน และไม่ควรอยู่ตามลำพังเด็ดขาด!
-
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ขอให้รีบพบแพทย์โดยทันที
ถึงซัมเมอร์นี้อากาศจะร้อนมากแค่ไหน ก็อุ่นใจได้ ด้วย #ประกันสุขภาพเหมาจ่าย PRUe-Healthcare Plus ดูแลทั้ง IPD+OPD เบี้ยฯ เริ่มต้นแค่ 14 บาท/วัน [1] และหายห่วงเรื่องขาดรายได้ เพราะชดเชยรายวันให้ สูงสุด 2,000 บาท/วัน [2]
ซื้อออนไลน์ง่ายๆ คลิก https://pruthai.life/qwKAJ
หมายเหตุ
[1] คำนวณค่าเบี้ยประกันภัยจากเพศชาย อายุ 30 ปี แผนความคุ้มครอง 1 เลือกชำระเบี้ยประกันแบบความรับผิดส่วนแรก (Deductible) 60,000 บาท
[2] กรณีเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม
#PrudentialThailand #ชีวิตมีกันทุกวันดีกว่า #PRUeHealthcarePlus