เลือกภาษา
close
เมื่อฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้เล่นงานแค่ปอด
เคล็ด (ไม่) ลับ น่ารู้ - พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต

เมื่อฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้เล่นงานแค่ปอด แต่อวัยวะอื่นก็ไม่รอดเช่นกัน

เคยคิดไหมว่า เราไม่เห็นท้องฟ้าสีฟ้ากันมานานแค่ไหนแล้ว?

ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในชีวิตทุกวันของเรา จนเคยชินไปแล้วหรือเปล่า?

 

 

จากงานวิจัยเรื่อง Air Quality & Health Implications in Different Countries/Cities ของ Prudential พบความจริงที่น่าเศร้าอย่างหนึ่งคือ ฝุ่นเหล่านี้ในเมืองไทย ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เป็นในประเทศอื่นทั่วโลก แต่เกิดมาจากพฤติกรรมของคนไทยเราเอง สาเหตุที่ใหญ่ที่สุดคือ วิกฤตไฟป่าทางภาคเหนือ และควันท่อไอเสียจากยานพาหนะ การเผาขยะ และมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงควันบุหรี่ ซึ่งปกติแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่คนเราทำทุกวันก็ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่แหล่งต้นตอสำคัญของ PM 2.5 ในบรรยากาศ คือ วิกฤตไฟป่า และการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ควันดำจากรถยนต์เก่า และยังมีอีกสาเหตุคือ ฝุ่นจากการก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

 

การเผชิญหน้ากับฝุ่น PM 2.5 ในทุกวัน ไม่ได้สุ่มเสี่ยงแค่ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น

การเกิดพังผืดในตับ:

ฝุ่น PM 2.5 จะมีเชื้อโรคต่างๆ ปะปนอยู่ด้วย เมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการหายใจหรือการดูดซึมผ่านผิวหนัง อาจส่งผลให้เกิดพังผืดในตับ จากการตกค้างของสารพิษในตับฝอย และการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อในตับได้ นี่แค่ฝุ่นสัมผัสกับผิวหนังเยอะก็อันตรายแล้วนะ!

ระบบทางเดินอาหาร:

สาย Street Food ต้องระวังหน่อยแล้วหละ เพราะหากเรากินอาหารที่ปนเปื้อนฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นขนาดเล็กอาจเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้การลำเลียงของโลหิตในเส้นเลือดเข้าสู่สมองหรือหัวใจ เกิดการระคายเคืองและอักเสบได้ เรียกได้ว่าอร่อยที่ปาก ลำบากที่ท้องนะเนี่ย

หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน:

เมื่อฝุ่นผงขนาดเล็กผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการสะสมขึ้น อาจส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและเลือดมีความหนืด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว  ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย!

โรคหัวใจขาดเลือด:

การสูดหายใจเอาฝุ่นเข้าร่างกายติดต่อกันนานๆ อาจทำให้เกิดการตกตะกอนภายในหลอดเลือด เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย ทั้งนี้ยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน หากใครชอบเดินกินลมชมวิว ก็พยายามเลี่ยงที่ที่ฝุ่นเยอะหน่อยแล้วกันนะ

 

เมื่อจำเป็นต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเสี่ยงต่อฝุ่นร้าย การปกป้องร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเรามีวิธีการ Re-Habit หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน มาแชร์ดังนี้!

1. สวมใส่หน้ากากอนามัย: 

เมื่อต้องออกนอกบ้าน หรืออยู่ในที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 การใส่หน้ากาก สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ เช่น หน้ากาก N95 สามารถช่วยกรองฝุ่นได้อย่างน้อย 95% เลยนะ

2. เลือกที่อยู่หรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อม:

หากเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง เช่น ถนนที่มีรถสัญจรหนาแน่น หรือเลี่ยงการอยู่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือปิดหน้าต่างให้มิดชิด ในช่วงที่ Application หรือข่าวแจ้งเตือนว่ามีมลพิษสูง ใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยกรองอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้เยอะ

3. ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว:

เราอยากรณรงค์ให้มีการลดการใช้พลังงานที่มีการสร้างมลพิษ เช่น การใช้รถยนต์ส่วนตัว และเปลี่ยนมาใช้รถโดยสารสาธารณะ รถจักรยาน หรือการเดิน เพื่อลดปริมาณของก๊าซเสียที่ปล่อยออกมา หากเราช่วยกันคนละนิด ก็จะช่วยสิ่งแวดล้อมได้เยอะเลยนะ

4. การเลือกใช้ยานพาหนะที่มีมาตรฐานการปล่อยก๊าซเสียต่ำ:

รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงหลายชนิดอาจมีการปล่อยก๊าซเสียและสารพิษต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แต่ในทางกลับกัน ยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงที่สะอาดและมีมาตรฐานการปล่อยก๊าซเสียในอัตราที่ต่ำ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริด จะมีการปล่อยก๊าซเสียและฝุ่น PM 2.5 น้อยกว่า ซึ่งช่วยลดปัญหามลพิษในอากาศได้

5. การรักษาคุณภาพอากาศภายในบ้าน:

สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้เครื่องกรองอากาศในบ้าน เพื่อลดปริมาณของฝุ่น หรือการรักษาความสะอาดภายในบ้าน ซักผ้าห่มและผ้าปูที่นอนบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมฝุ่น รวมถึงการปลูกต้นไม้ต่างๆ จะช่วยดูดซับฝุ่น PM 2.5 ออกจากอากาศ และช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ในบ้านได้ดีมากอีกด้วย

 

 

การปรับเปลี่ยน Daily Routine เพื่อลดการสร้างฝุ่น PM 2.5 ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพของเราเอง แต่ยังช่วยเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต การร่วมมือกัน Re-Habit เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เป็นสิ่งสำคัญในการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างยั่งยืน

 

#PrudentialThailand #ชีวิตมีกันทุกวันดีกว่า

#PRUeHealthcarePlus #ประกันสุขภาพเหมาจ่าย