เลือกภาษา
close
ลูกไม่ค่อยป่วยแปลว่าสุขภาพดี จริงหรือ?

ลูกไม่ค่อยป่วย
แปลว่าสุขภาพดี จริงหรือ?

การที่ลูกดูเหมือนแข็งแรง ไม่ได้ป่วยหรือมีอาการเจ็บป่วยอย่างชัดเจน อาจทำให้พ่อแม่หรือผู้ดูแลรู้สึกสบายใจ ว่าลูกนั้นมีสุขภาพที่ดี แต่ในความเป็นจริง เด็กบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพที่ซ่อนไว้ โดยไม่แสดงอาการเจ็บป่วยให้เห็น ปัญหาเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของพวกเขาในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นภาวะอ้วน เตี้ย ตัวเล็ก ไอคิวต่ำ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจปรากฏเมื่อเด็กโตขึ้น

 

ภาวะซ่อนเร้นของเด็กวัย 0-6 ปี

 

อ้วน เตี้ย ไอคิวต่ำ อาจเกิดจากโภชนาการที่ไม่ดี
ภาวะซ่อนเร้นที่พ่อแม่อาจไม่ทันสังเกต

ปัญหาด้านโภชนาการของเด็กไทยส่งผลกระทบโดยตรงต่อ การได้รับโภชนาการที่ไม่สมดุล สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ ซึ่ง มี 3 ปัญหาหลักที่มักพบในเด็กไทย ได้แก่ โภชนาการเกินทำให้เกิดภาวะอ้วน ภาวะโภชนาการไม่เพียงพออาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กเตี้ย ภาวะโภชนาการไม่สมดุลอาจทำให้ไอคิวต่ำ

 

กินอะไรให้ลูกแข็งแรง

 

ความสำคัญของโภชนาการในช่วงวัยเด็กปฐมวัย

วัยเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) เป็นช่วงที่การเจริญเติบโตทางร่างกายและสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โภชนาการในช่วงนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โภชนาการที่ดี จะส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งทางกายภาพและการพัฒนาทางสติปัญญา อีกทั้งยังส่งผลต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตด้วย

  • โปรตีน ช่วยในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่สึกหรอ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ

  • วิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามิน A, C, D และแคลเซียม มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

  • ไขมันที่ดี เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เช่น ไขมันจากปลา อะโวคาโด และน้ำมันมะกอก สำคัญต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท

  • คาร์โบไฮเดรต ถือเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับร่างกาย เพื่อให้พลังงานที่ยาวนานในการเรียนรู้

 

Checklist เด็กสุขภาพดี

 

ลูกสุขภาพดี เติบโตสมวัย พ่อแม่ดูได้จากอะไร

  • การเจริญเติบโตตามเกณฑ์ เด็กแต่ละวัยมีเกณฑ์การเจริญเติบโตที่เฉพาะเจาะจง พ่อแม่สามารถติดตามได้จากตารางการเจริญเติบโต (Growth chart) ซึ่งแพทย์จะใช้วัดและติดตามว่าลูกเติบโตในเกณฑ์ปกติหรือไม่

  • การนอนหลับอย่างเพียงพอ เพราะการนอนหลับมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เด็กทารกควรนอนประมาณ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่เด็กวัยเรียนควรนอนประมาณ 9-12 ชั่วโมง

  • การขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร การขับถ่ายที่ปกติทั้งในเรื่องของจำนวนครั้งและลักษณะอุจจาระ บ่งบอกว่าระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้ดี หากลูกมีปัญหาท้องผูกหรือท้องเสียบ่อยครั้ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุใด

  • อารมณ์และสังคม เด็กที่มีสุขภาพดี มักมีอารมณ์ที่ดี สามารถแสดงออกและควบคุมอารมณ์ได้ตามวัย

  • ระบบภูมิคุ้มกันดี ไม่ป่วยง่าย เด็กที่มีสุขภาพดีควรมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อยเกินไป การเป็นหวัดหรือไข้เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นเรื่องปกติ การตรวจสุขภาพประจำปี ยังช่วยให้แพทย์สามารถพบปัญหาสุขภาพในระยะเริ่มต้นและรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

เตรียมพร้อมให้ลูกสุขภาพดีทั้งกายใจ ต้องทำอะไรบ้าง?

  • กินครบ กินดี เป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโต พ่อแม่ควรเน้นการให้ลูกกินอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม การปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีตั้งแต่เด็ก จะทำให้ลูกมีความสุขกับการรับประทานอาหารที่ดีไปตลอดชีวิต

  • เล่นและออกกำลังกายสม่ำเสมอ เด็กควรมีโอกาสในการเคลื่อนไหวและเล่นสนุกในแต่ละวัน เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีและเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง ทั้งยังช่วยกระตุ้นสมอง ทำให้เด็กมีสภาพจิตใจที่สดใสและมีพลัง

  • ป้องกันโรคครบด้าน พ่อแม่ควรพาลูกฉีดวัคซีนตามกำหนด และสอนให้เด็กดูแลสุขอนามัยส่วนตัว การป้องกันที่ดีจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกได้ในระยะยาว

  • ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก ความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ถึงแม้จะมีการระวังและดูแลอย่างดี แต่การที่เด็กไปโรงเรียน ทำให้การติดเชื้อเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยง ประกันสุขภาพสำหรับเด็กเป็นการเตรียมความพร้อมที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อลูกเกิดเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ประกันสุขภาพจะช่วยให้ครอบครัวมีความมั่นคงทางการเงิน ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ควรเลือกแผนประกันที่ครอบคลุมโรคสำคัญและเหมาะสมกับความเสี่ยงของลูก

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ‘อ้วน-เตี้ย-ไอคิวต่ำ’ แก้ด้วยโภชนาการช่วงแรกของชีวิต

  2. โรคติดต่อในเด็ก และ โรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ ต้องระวัง

  3. โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยและวัยก่อนเรียน