ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 จริงหรือไม่
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีใครไม่รู้จักฝุ่น PM 2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่วนเวียนมาตามฤดูกาล และปนเปื้อนในอากาศโดยที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า นอกจากปัญหาฝุ่น PM 2.5 แล้ว คนไทยยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ Covid-19 แล้วฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 จริงไหม ? มาหาคำตอบได้ในบทความนี้
รู้จักฝุ่น PM 2.5 ภัยร้ายใกล้ตัว
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กเพียง 2.5 ไมโครมิเตอร์ หากนึกภาพไม่ออกว่าเล็กขนาดไหน ก็ต้องบอกว่ามีขนาดเทียบเท่า 3% ของเส้นผ่านศูนย์กลางของผมของคนเท่านั้น โดยสาเหตุของ ฝุ่น PM 2.5 คือ ควันจากยานพาหนะ การเผาไหม้จากกระบวนการทางอุตสาหกรรม การเผาไหม้ในที่โล่ง
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย
ประเทศไทยจัดอยู่ลำดับต้น ๆ ของเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก และฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่มีความคับคั่งของการจราจร และประชากรหนาแน่น
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมควบคุมมลพิษ ได้กำหนดอัตราฝุ่นตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2022 โดยหากมีค่าเกินกว่าอัตราดังกล่าว ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้
● ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ปรับลดจาก 50 เป็น 37.5 มคก./ลบ.ม.
● ค่าเฉลี่ยรายปี ปรับลดจาก 25 เป็น 15 มคก./ลบ.ม
แต่ไม่ว่าจะอัตราใด ค่าฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ ถือว่าเข้าขั้นวิกฤต เพราะข้อมูลค่าฝุ่นรายวัน ณ วันที่ 1 มีนาคม 2023 พบว่า ฝุ่น PM 2.5 มีค่าระหว่าง 41-113 มคก./ลบ.ม ซึ่งเป็นสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ IQAir ได้เผยอันดับเมืองที่มีค่า Pm 2.5 มากที่สุดของโลก ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2023 เวลา 15.00 น. พบว่าเชียงใหม่และกรุงเทพฯ ติดอันดับ Top 5 ของโลก ดังนี้
1. จีน (ปักกิ่ง) ค่า PM2.5 741 มคก./ลบ.ม
2. ไทย (เชียงใหม่) ค่า PM2.5 175 มคก./ลบ.ม
3. พม่า (ย่างกุ้ง) ค่า PM2.5 167 มคก./ลบ.ม
4. ไทย (กรุงเทพฯ) ค่า PM2.5 163 มคก./ลบ.ม
5. อินเดีย (มุมไบ) ค่า PM2.5 161 มคก./ลบ.ม
ฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 จริงไหม ?
มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ฝุ่น PM 2.5 และ Covid-19 มีความเชื่อมโยงกัน หากมีการสูด PM 2.5 เข้าไปจำนวนมาก จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นเซลล์ตรงเยื่อจมูก ทางเดินหายใจ และถุงลมในปอดอ่อนแอลง เชื้อไวรัส Covid-19 จึงเข้าไปทำลายปอดได้ง่ายขึ้น จึงสรุปได้ว่าฝุ่น PM 2.5 ไม่ใช่พาหะโดยตรงของการติดเชื้อ Covid-19 แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 ได้
อาการ Covid-19 ต่างจากอาการแพ้ ฝุ่น PM 2.5 อย่างไร
อาการของ Covid-19
ผู้ป่วย Covid-19 จะมีตั้งแต่ผู้ที่ไม่มีอาการเลย หรือมีอาการเหมือนไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ตลอดจนไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส และผู้ป่วยที่เชื้อลงปอดจนปอดอักเสบ จะมีอาการหนักมาก เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ ไอหนัก
อาการแพ้ฝุ่น PM 2.5
ผู้ป่วยที่แพ้ฝุ่น PM 2.5 มีอาการคล้ายกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ หรือแพ้อากาศ โดยจะเกิดผื่นแพ้ต่าง ๆ กระจายบนผิวหนัง ตาแดง คันตา มีน้ำตาไหล คัดจมูก มีน้ำมูกไหล
ความแตกต่างระหว่างอาการ Covid-19 และแพ้ฝุ่น PM 2.5
ผู้ป่วย Covid-19 จะมีไข้สูง เจ็บคอ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ที่แพ้ฝุ่น PM 2.5 จะไม่มีอาการดังกล่าว
อาการ |
Covid-19 |
PM 2.5 |
มีไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น |
||
ไอ เจ็บคอ |
||
เจ็บคอ |
||
คัดจมูก น้ำมูกไหล |
||
ปวดเมื่อยตามร่างกาย |
||
จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส |
||
เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ ไอหนัก |
||
ผื่นแพ้ขึ้นตามผิวหนัง |
||
แสบตา ตาแดง มีน้ำตาไหล |
ดูแลตัวเองอย่างไร ห่างไกลฝุ่น PM 2.5
ผู้ป่วย Covid-19 จะมีไข้สูง เจ็บคอ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในขณะที่ผู้ที่แพ้ฝุ่น PM 2.5 จะไม่มีอาการดังกล่าว
-
หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษสูง
-
สวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่ป้องกันฝุ่นได้ดี คือ หน้ากาก N95 แต่หากไม่ใช้หน้ากาก N95 สามารถใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น หรือหน้ากากธรรมดาสวมทับ 2 ชั้นแทนได้
-
หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง
-
ใช้เครื่องฟอกอากาศ เพื่อกรองฝุ่นออกจากอากาศ ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์กลับคืนสู่บ้าน
-
หมั่นตรวจสอบสุขภาพตนเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์
ประกันสุขภาพ ตัวช่วยสู้ PM 2.5
โควิดยังไม่หายฝุ่น PM 2.5 ก็กลับมาซ้ำ ความเสี่ยงที่ทำให้เราเจ็บป่วยก็เพิ่มมากขึ้นพร้อม ๆ กับค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการมีประกันสุขภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับทุกคนในยุคนี้ แม้จะไม่ได้ช่วยป้องกันโรคโดยตรง แต่หากฝุ่น PM 2.5 กระทบสุขภาพขึ้นมาเมื่อไร ประกันสุขภาพก็จะสามารถช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาล ให้คุณคลายความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย และพร้อมสู้กับฝุ่น PM 2.5 ต่อไป