เลือกภาษา
close
สัญญาณเตือนภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke)
เคล็ด (ไม่) ลับ น่ารู้ - พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต

เช็ก​​สัญญาณเตือน
​​ภาวะ​​ฮีทสโตรก​​ และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งปี และคนไทยส่วนใหญ่ก็คุ้นชินกับอากาศร้อนอยู่แล้ว แต่พอเข้าฤดูร้อนที่เป็นทางการของประเทศไทยจริง ๆ อย่างในช่วงต้นเดือนมีนาคมจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศที่ว่าร้อนอยู่แล้วกลับสามารถร้อนมากขึ้นกว่าเดิม โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้เผยข้อมูลว่า ในฤดูร้อนจะมีบางจังหวัดที่อุณหภูมิจะพุ่งสูงขึ้นไปแตะถึง 40-43 องศาเซลเซียส และอาจจะทำให้เกิดโรคลมแดดหรือภาวะฮีทสโตรกได้ 

เพื่อเตรียมรับมือกับอากาศร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ พรูเด็นเชียล (Prudential) จะพาไปทำความรู้จักกับโรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)” หนึ่งในอันตรายที่มาพร้อมกับหน้าร้อนที่ถ้าหากเราไม่ป้องกันให้ดี ก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ !  

 

Table of Content: 

  1. รู้จักกับโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

  2. โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากอะไร ?

  3. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะฮีทสโตรก

  4. สัญญาณเตือนของภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke)

  5. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเจอผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

  6. การตรวจวินิจฉัยของแพทย์

  7. วิธีการป้องกันโรคฮีทสโตรก

 

รู้จักกับโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด คือ ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส และไม่สามารถปรับตัวให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงมาในเกณฑ์ปกติได้จนทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยจะเริ่มต้นจากมึนศีรษะ ปวดศีรษะ ไปจนถึงการเกิดภาวะชัก หมดสติจากการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

 

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากอะไร ?

สาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติจนนำไปสู่การเป็นโรคฮีทสโตรก จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่ โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกายหนัก (Classical Heatstroke) และโรคลมแดดที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (Exertional Heatstroke) มีรายละเอียดดังนี้ 

1. โรคฮีทสโตรกที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกายหนัก (Classical Heatstroke)

ลักษณะอาการสำคัญ คือ อุณหภูมิในร่างกายสูง และไม่มีเหงื่อ เกิดจากการที่เราอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนมากเกินไป เช่น อยู่กลางแจ้ง ไม่มีแรงลม อยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง อากาศถ่ายเทได้ไม่ดี หรืออยู่ในบ้านที่ปิดมิดชิดไม่มีที่ระบายอากาศ จนส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยและนำไปสู่การเป็นโรคฮีทสโตรก โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่มีอายุมาก หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนและการขาดน้ำได้ 

2. โรคฮีทสโตรกที่เกิดจากการใช้กำลังกายหนัก (Exertional Heatstroke)

 

เกิดจากการที่ออกกำลังกายหักโหมมากจนเกินไปจนทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงผิดปกติ และไม่สามารถปรับตัวได้ มักพบในคนที่มีอายุน้อย นักกีฬา กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง หรือทหารเกณฑ์ที่ฝึกหนักในอากาศร้อนจัดและสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง 

อาการโดยทั่วไปคล้ายกับกลุ่มแรก แต่จะแตกต่างตรงที่มีเหงื่อออกมากก่อน แล้วเหงื่อค่อยหยุดออก ร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ พบไมโอโกลบินในปัสสาวะ มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ชัก หมดสติ และอาจมีเลือดออกทุกทวาร  

 

ัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะฮีทสโตรก

 

นอกจากเรื่องอากาศร้อนแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะฮีทสโตรกได้ง่าย ดังต่อไปนี้  

  • อายุ เด็กเล็กและผู้สูงอายุเสี่ยงต่อโรคลมแดดได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น เนื่องจากระบบควบคุมอุณหภูมิทำงานไม่สมบูรณ์  

  • โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด โรคพาร์กินสัน  

  • ทำงานกลางแจ้งหรือออกกำลังกายหนักเป็นเวลานาน ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นและไม่สามารถควบคุมได้  

  • ขาดน้ำ เนื่องจากการรับประทานยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ  

 

การอยู่กลางแจ้งในช่วงที่อากาศร้อน เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรกได้

สัญญาณเตือนของภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke)

สำหรับใครที่มีข้อสงสัยว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเอง หรือคนใกล้ตัวกำลังจะเป็นโรคฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เราได้รวมอาการฮีทสโตรกมาให้แล้ว ซึ่งคุณสามารถสังเกตอาการได้จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ได้เลย 

  • ไม่มีเหงื่อออก แม้จะอยู่ในที่ที่อากาศร้อน 

     

  • หน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ 

     

  • รู้สึกกระหายน้ำมาก 

     

  • มีอาการเวียนหัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน และหายใจเร็ว 

     

  • หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ 

     

  • เห็นภาพหลอน รู้สึกมึนงง สับสน 

ถ้าหากมีอาการเหล่านี้จะต้องหยุดพักทันที และหาสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีที่กำบังแดด หลังจากนั้นให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายต่อไป ห้ามฝืนตัวเองเด็ดขาด เพราะจะทำให้นำไปสู่การเกิดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ชัก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ชีวิตได้ 

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเจอผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke)

 

เมื่อเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรกให้ตรวจสอบดูก่อนว่ามีภาวะรู้สึกตัวผิดปกติหรือเปล่า  

กรณีที่ไม่รู้สึกตัว ให้คลำชีพจรดูว่าหายใจผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีการหายใจที่ผิดปกติให้ทำ CPR และ โทร 1669 เบอร์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ - สพฉ. เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด 

กรณีที่ยังมีรู้สึกตัวปกติดีอยู่ ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยวิธีการต่อไปนี้ 

  • นำผู้ป่วยเข้าร่ม อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้ามีพัดลมก็สามารถเปิดพัดลมได้ 

     

  • ให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง และถอดเสื้อผ้าออก 

     

  • ลดอุณหภูมิของร่างกายให้เย็นลงด้วยการให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ ร่วมกับวิธีการต่อไปนี้ 

           - นำน้ำแข็งไปประคบบริเวณซอกคอ ขาหนีบ และรักแร้ 

           - ทำการ Cool Blanket โดยการใช้ผ้ายางและใส่น้ำแข็งลงไป แล้วให้ผู้ป่วยนอนลงบริเวณนั้น ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อน 

           - เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด 

           - ถ้าไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวตามร่างกาย เช็ดสวนขึ้นมาเข้าทางหัวใจ และเช็ดทางเดียว 

     

  • หลังจากนั้นให้รีบส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลให้เร็วที่สุด 

 

การตรวจวินิจฉัยของแพทย์

ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติจากผู้ป่วยหรือญาติ ว่าสัมผัสกับอากาศร้อนหรือมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นฮีทสโตรกหรือไม่ ในบางกรณีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจจะตรวจเลือดและเอกซเรย์เพิ่มเติม 

 

แนวทางการรักษา

 

แพทย์จะทำการลดอุณหภูมิผู้ป่วย โดยการแช่น้ำเย็น และระบายความร้อนด้วยวิธีอื่นและอาจจะให้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อหยุดอาการสั่นร่วมด้วย

 

การดื่มน้ำช่วยป้องกันอาการฮีทสโตรกได้

 

วิธีการป้องกันโรคฮีทสโตรก

สำหรับใครที่จำเป็นต้องทำงาน หรืออยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัด พรูเด็นเชียลก็มีวิธีดูแลตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลางความร้อน และป้องกันการเกิดโรคฮีทสโตรกหรือโรคลมแดดมาฝากเช่นกัน สามารถทำตามได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้เลย 

ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว และถ้าต้องทำงานในสภาพอากาศที่ร้อน หรือออกกำลังกายในสภาพที่ร้อนจะต้องดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ลิตรต่อชั่วโมง แม้ว่าจะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม 
สามารถรับประทานของเย็น เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม หรืออาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น แตงโม แคนตาลูป แตงไทย ชมพู่ แก้วมังกร มังคุด น้ำใบเตย น้ำใบบัวบก น้ำเก๊กฮวย เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย 
หากรู้ว่าจะต้องไปทำงานกลางแจ้ง แนะนำให้ออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มงาน เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน 
สวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง สีอ่อน และระบายอากาศได้ดี 
ควรทาครีมกันแดดที่ค่า SPF 50 PA+++ ขึ้นไป ก่อนออกแดดทุกครั้ง 
หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ และยาลดน้ำมูก ก่อนออกกำลังกาย หรืออยู่ในสถานที่ที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน 
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติดทุกชนิด 
หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงเวลาที่มีแสงแดดจัด แนะนำให้หลบในที่ร่มก่อน 

 

เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ไม่คาดฝันด้วยประกันสุขภาพจากพรูเด็นเชียล (Prudential)

 

เพราะความเจ็บป่วยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน จะดีกว่าไหมถ้าเรามีตัวช่วยดี ๆ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล ทำให้เราสามารถรับมือกับทุกเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้อย่างราบรื่น โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย และได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุด 

เราขอแนะนำแผนประกันสุขภาพรายปีไม่ต้องสำรองจ่าย ที่มาพร้อมกับแผนประกันที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกคน โดยมีแผนประกันฯ ที่แนะนำดังต่อไปนี้ 

  • พรูเฮลท์ ริช โพรเทคชั่น ที่ช่วยให้คุณหมดห่วงกับค่ารักษาพยาบาล ด้วยแผนความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกระดับการรักษา  

  • พรูเฮลธี้ พลัส ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่คุ้มครองยาวนานถึงอายุ 80 ปี  

ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไหนมีแผนประกันสุขภาพรายปีจากพรูเด็นเชียล ประกันชีวิตเอาไว้ ก็สามารถรับมือได้อย่างแน่นอน! 

 

ข้อมูลอ้างอิง 

  1. ฮีทสโตรก (Heat Stroke) อันตรายจากอากาศร้อนที่ไม่ควรมองข้าม  

  1. โรคฮีทสโตรก…อันตรายถึงชีวิต !